การตรวจวัดระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากการสัมผัสความร้อน ของนักท่องเที่ยวในวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ระดับความร้อน, ผลกระทบต่อสุขภาพ, นักท่องเที่ยวบทคัดย่อ
ความร้อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากการทำงานหรือจากแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนต่างให้ความสนใจเข้าไปเยี่ยมชม สภาพอากาศที่ร้อนซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่อยู่ในบริเวณนั้น ๆ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของนักท่องเที่ยวในวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องตรวจวัดความร้อนและแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) เฉลี่ยภายนอกอาคาร ในบริเวณพื้นที่วัดจุฬามณี อยู่ในช่วง 31.9–35.3 องศาเซลเซียส โดยมีบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง 3 จุด ได้แก่ ลานจอดรถ จุดสักการะพื้นที่ขนาดใหญ่ และจุดสักการะพื้นที่ขนาดเล็ก นอกจากนี้บริเวณที่มีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการพัก คือ บริเวณตลาดขายของ ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อน พบว่าส่วนใหญ่มีอาการกระหายน้ำร้อยละ 71.1 อาการอ่อนเพลียจากความร้อนร้อยละ 69.2 และมีอาการแพ้เหงื่อร้อยละ 45.7
สภาพอากาศที่ร้อนและอยู่บริเวณกลางแจ้งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของนักท่องเที่ยว จึงควรมีการสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สามารถระบายความร้อนได้ดี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการจากการเจ็บป่วยจากความร้อน
References
กรมอนามัย. แนวทางการเฝ้าระวังและสื่อสารเตือนภัย ด้านสาธารณสุขรองรับผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีความร้อน. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข. 2563.
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ. ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ป.]. [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก
:http://www.tatc.ac.th/files/110528099292991_13111820201525.pdf ; 1-10
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สภาพอากาศและอุณหภูมิ. [อินเทอร์เน็ต]. 2546. เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://thai.tourismthailand.org › Weather
กรมอุตุนิยมวิทยา. ภูมิอากาศของประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://tmd-dev.azurewebsites.net › info › ภมอากาศขอ...
กรมอุตุนิยมวิทยา. ภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. เข้าถึงเมื่อ 26 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://climate.tmd.go.th/data/province/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.pdf; 1-2
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. แนวทางการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานและการดำเนินการตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร: กองความปลอดภัยแรงงาน. 2561.
กลุ่มพัฒนาระบบข่าวกรองและเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การเฝ้าระวังการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสภาวะอากาศร้อน ปี 2561-2566 ประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://lookerstudio.google.com/u/0/
reporting/ae1cdd6c-efd0-44c3-a2fd-6850772024db/page/vl2uC?s=jbyU2oO6c84
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ระบบและกลไกการเตือนภัยสุขภาพจากความร้อนในระดับชุมชน.. นนทบุรี: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2560.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์พรินท์; 2541.
Personal Safety Division. QUESTemp34 and QUESTemp36 User Manual [Internet]. 2017. [cited 2023 October 5]. Available from: file:///Users/wariya/Downloads/11398-Article%20Text-17701-1-10-20211108.pdf
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทของกิจการที่ต้องดำเนินการ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 57 ง. 12 มีนาคม 2561 หน้า 11-16 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566].
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทำไมหน้าร้อน เราจึงหิวน้ำบ่อย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 .เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/?p=227263
มงคล รัชชะ, จักรกฤษ เสลาและอนุ สุราช. (2564). การประเมินระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของผู้ประกอบอาชีพในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. [อินเทอร์เน็ต]. พ.ค. – ก.ย. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2565]; 2(24): 87-100. เข้าถึงได้จาก : https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11398
National Weather Service. Temperature. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก :https://www.weather.gov
/source/zhu/ZHU_Training_Page/definitions/dry_wet_bulb_definition/dry_wet_bulb.html
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. การทดสอบแบบอิงเกณฑ์ : แนวคิดและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2527.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์. แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ.2549. [อินเทอร์เน็ต]. 2549. เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2567]..เข้าถึงได้จาก:.http://medinfo2.psu.ac.th/commed/occmed/images/TIS18001/tisp4/law%20Physi/images/law/practice_hot.pdf
Purima Singh. [Internnet]. Relative Humidity Calculator; 2023. [cited 2023 Nov 11]. Available from: https://www.omnicalculator.com/physics/relative-humidity.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว