ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ชัชฎาภรณ์ วชิรปรีชาพงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุ, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ดูแลในครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 372 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .73,..74,..73 และ..73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย         ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์

          ผลการศึกษา พบว่า การดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.81 ระดับปานกลาง ร้อยละ 30.38 และระดับต่ำ ร้อยละ 18.81 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ครอบครัว อายุของผู้สูงอายุ โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ และการสนับสนุนทางสังคม

References

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2566.

อุสาสันต์ กอธวัช และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปลอดภัยและสะดวกสบายในการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561;32(1):77-96.

กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/

ละเอียด ศิลาน้อย. วิธีวิทยาการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณ (เชิงสํารวจและเชิงทดลอง). กรุงเทพฯ: บางกอกบลูพริ้นต์; 2558.

สุขศิริ ประสมสุข, ณฐกร นิลเนตร, เกรียงไกร เกิดหนู. การศึกษาความรู้ ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2563;7(1):1-12.

ภาวิณี แพงสุข และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2563;28(1):1-13.

เพ็ญนภา มะหะหมัด. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2561;17(1):1-9.

ยุพา ฟูชื่น. ทัศนคติเชิงบวกต่อการเข้าถึงสถานบริการ การได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพของผู้ดูแลการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลําปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2561;5(2):72-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-08-2024