การพยาบาลผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อลงกรณ์ สุขเรืองกูล คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
  • อาณัติ วรรณะ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, บุลลัสเพมฟิกอยด์, ถุงน้ำพองเรื้อรัง

บทคัดย่อ

โรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ (bullous pemphigoid) เป็นโรคถุงน้ำพองเรื้อรังที่เกิดความผิดปกติของภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ การดำเนินของโรคมีลักษณะเป็นๆ หายๆ ทำให้ผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน โรคนี้จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ รูปแบบการศึกษาเป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1-31 มกราคม 2567  และนัดติดตามอาการต่อเนื่อง 1 ครั้ง รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลทุกระยะของการดูแล

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 62 ปี มารับการตรวจด้วยอาการมีถุงน้ำพองใสกระจายทั่วตัว 3 สัปดาห์ แพทย์วินิจฉัย เป็นโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ รักษาโดยใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการไม่สุขสบายจากพยาธิสภาพ  ของโรค และได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาล สามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้

ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอกจึงต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินสภาพ และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ รวมถึงประเมินภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคได้อย่างปกติ

References

Pratasava V, Sahni VN, Suresh A, et al. Bullous Pemphigoid and Other Pemphigoid Dermatoses. Medicina (Kaunas). 2021;57(10):1061.

Miyamoto D, Santi CG, Aoki V, Maruta CW. Bullous pemphigoid. An Bras Dermatol. 2019;94(2):133-46.

Chaiyamahapurk S, Warnnissorn P. Prevalence and Pattern of Diseases of The Skin and Subcutaneous Tissue in A Primary Care Area in Thailand. Siriraj Med J. 2021;73(6):357-62.

Moro F, Fania L, Sinagra JLM, Salemme A, Di Zenzo G. Bullous Pemphigoid: Trigger and Predisposing Factors. Biomolecules. 2020;10(10):1432.

Bağcı IS, Horváth ON, Ruzicka T, Sárdy M. Bullous pemphigoid. Autoimmun Rev. 2017;16(5):445-55.

Amonchaisakda N, Aiempanakit K. Clinical characteristics, mortality, and prognostic factors for bullous pemphigoid in a Thai population. Medicine (Baltimore). 2020;99(43):e22850.

D'Agostino GM, Rizzetto G, Marani A, et al. Bullous Pemphygoid and Novel Therapeutic Approaches. Biomedicines. 2022;10(11):2844.

Cohen PR. Dyshidrosiform Bullous Pemphigoid. Medicina (Kaunas). 2021;57(4):398.

Tee CT, Lee CS, Gunabalasingam P. Characteristics, and quality of life in pemphigus patients. Med J Malaysia. 2022;77(3):324-30.

Ghodsi SZ, Asadi A, Ghandi N, et al. Family impact of pemphigus disease in an Iranian population using the Family Dermatology Life Quality Index. Int J Womens Dermatol. 2020;6(5):409-13.

Murari A, Singh KN. Lund and Browder chart modified versus original: a comparative study. Acute Crit Care. 2019;34(4):276-81.

da Silva Brandão E, dos Santos I, , Serrão Lanzillotti R. Reduction of pain in clients with autoimmune bullous dermatoses: evaluation by fuzzy logic. Online Brazilian Journal of Nursing. 2016;15(4):675-82.

Brandão Eda S, Santos ID, Lanzillotti RS, Ferreira AM, Gamba MA, Azulay-Abulafia L. Nursing diagnoses in patients with immune-bullous dermatosis. Rev Lat Am Enfermagem. 2016;24:e2766.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ระดับจังหวัด (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3/2557). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2557.

ณิชา เจนมานะชัยกุล. การให้คำปรึกษาปัญหาโรคผิวหนังผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2567;32(3):B16-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-06-2024