ลักษณะทางคลินิกของกลุ่มอาการสูงอายุในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้แต่ง

  • วรุฒ ทองอยู่ นายแพทย์ชำนาญการ, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม, โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

เบาหวาน, กลุ่มอาการสูงอายุ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่าหนึ่งโรค.ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่พบมากที่สุด ในผู้สูงอายุ การประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมนอกจากตรวจรักษาโรคประจำตัวเรื้อรังแล้ว ยังต้องหากลุ่มอาการสูงอายุอีกด้วย จึงเป็นที่มาของการศึกษาลักษณะทางคลินิกของกลุ่มอาการสูงอายุในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน.ที่มารับบริการคลินิกสูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรีใช้วิธีการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยรวบรวมผู้ป่วยที่มาใช้บริการคลินิกสูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม.-.31 ธันวาคม 2565 เพื่อวิเคราะห์หาความชุกและลักษณะของกลุ่มอาการสูงอายุ ได้แก่ การใช้ยาหลายขนาน การหกล้ม ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ภาวะซึมเศร้า ภาวะทุพโภชนาการ และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการสูงอายุกับผู้สูงอายุที่ตามสถานการณ์ป่วย    เป็นโรคเบาหวาน โดยใช้สถิติ Chi-square test

ผลการศึกษา.จากผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด.237.คน อายุเฉลี่ย.74.26±6.92.ปี.ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง.73.00%.มีผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 36.63% ความชุกของการใช้ยาหลายขนานในกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 78.00% สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน 31.40% (p=0.000) ความชุกของการหกล้มในกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 50.00% สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน 36.50% (p=0.038) ความชุกของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 38.00%.สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน.16.80% (p=0.000) และจำนวนของกลุ่มอาการสูงอายุในกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004)

ผลสรุป ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานมีจำนวนกลุ่มอาการสูงอายุมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะการรับประทานยาหลายขนาน การหกล้ม และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2565.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2559.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนี่ยนครีเอชชั่น จำกัด; 2556.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, บรรณาธิการ. การป้องกันการประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2556.

American Diabetes Association. Older adults: standards of medical care in diabetes-2022. Diabetes Care. 2022;45(Suppl 1):S195-207.

Chetthakul T, Deerochanawong S, Suwanwalaikorn S, Kosachunhanun N, Ngarmukos C, Rawdaree P, et al. Thailand Diabetes Registry Project: Prevalence of diabetic retinopathy and associated factors in type 2 diabetes mellitus. J Med Assoc Thai. 2006;89(Suppl1):S27-36.

Diabetes Control and Complications Trial/Epidemiology of Diabetes Interventions and Complications Research Group. Retinopathyand nephropathy in patients with type 1 diabetes four years after a trial of intensive therapy. N Engl J Med. 2000;342:381-9.

Holman RR, Paul SK, Bethel MA, Matthews DR, Neil HAW. 10-Year Follow-up of intensive glucose control in type 2 diabetes. N Engl J Med. 2008;359:1577-89.

Zakin E, Abrams R, Simpson DM. Diabetic neuropathy. Seminars in neurology. 2019;39(5):560-569.

Pratipanawatr T, Rawdaree P, Chetthakul T, Bunnag P, Ngarmukos C, Benjasuratwong Y, et al. Smoking and death in Thai diabetic patients: the Thailand Diabetic cohort. J Med Assoc Thai. 2013;96:280-7.

Araki A, Ito H. Diabetes mellitus and geriatric syndromes. Geriatr Gerontol Int 2009;9:105-14.

Korean Diabetes Association. Elderly diabetes mellitus. 3rded. Seoul: Korean Diabetes Association; 2018.

Yoo HJ. Clinical implications of geriatric syndromes. J Korean Med Assoc 2014;57:738-42.

Bourdel-Marchasson I, Berrut G. Caring for the elderly diabetic patient with respect to concepts of successful aging and frailty. Diabetes Metab. 2005;31 Spec No 2:5S13-5S19.

Moon S, et al. Clinical features of geriatric syndromes in older Koreans with diabetes mellitus. Ann Geriatr Med Res. 2019;23(4):176.

Petrofsky JS, Cuneo M, Lee S, Johnson E, Lohman E. Correlation between gait and balance in people with and without Type 2 diabetes in normal and subdued light. Med Sci Monit. 2006;12(7):CR273-81.

de Souza Moreira B, Ferreira Sampaio R, Rossana Cavalcanti Furtado S, Correa Dias R, Noce Kirkwood R. The relationship between diabetes mellitus, geriatric syndromes, physical function, and gait: a review of the literature. Curr Diabetes Rev. 2016;12(3):240-51.

Remelli F, Ceresini MG, Trevisan C, Noale M, Volpato S. Prevalence and impact of polypharmacy in older patients with type 2 diabetes. Aging Clin Exp Res. 2022;34(9):1969-83.

Dobrică EC, Găman MA, Cozma MA, Bratu OG, Pantea Stoian A, Diaconu CC. Polypharmacy in type 2 diabetes mellitus: insights from an internal medicine department. Medicina. 2019;55(8):436.

Schwartz AV, Hillier TA, Sellmeyer DE, Resnick HE, Gregg E, Ensrud KE, et al. Older women with diabetes have a higher risk of falls: a prospective study. Diabetes Care. 2002;25:1749-54.

Volpato S, Leveille SG, Blaum C, Fried LP, Guralnik JM. Risk factors for falls in older disabled women with diabetes: the Women's Health and Aging Study. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 2005;60:1539-45.

Arvanitakis Z, Wilson RS, Schneider JA, Bienias JL, Evans DA, Bennett DA. Diabetes mellitus and progression of rigidity and gait disturbance in older persons. Neurology. 2004;63:996-1001.

Menz HB, Lord SR, St George R, Fitzpatrick RC. Walking stability and sensorimotor function in older people with diabetic peripheral neuropathy. Arch Phys Med Rehabil. 2004;85:245-52.

Hsu A, Conell-Price J, Stijacic Cenzer I, Eng C, Huang AJ, Rice-Trumble K, Lee SJ. Predictors of urinary incontinence in community-dwelling frail older adults with diabetes mellitus in a cross-sectional study. BMC Geriatr. 2014;14(1):1-9.

Helen Ebbesen M, Hannestad YS, Midthjell K, Hunskaar S. Diabetes and urinary incontinence–prevalence data from Norway. Acta Obstet Gynecol Scand. 2007;86(10):1256-62.

Unverzagt FW, et al. Prevalence of cognitive impairment: data from the Indianapolis Study of Health and Aging. Neurology. 2001;57(9):1655-62.

Ponte C, Almeida V, Fernandes L. Suicidal ideation, depression and quality of life in the elderly: study in a gerontopsychiatric consultation. Span J Psychol. 2014;17:E14.

Shpata V, Ohri I, Nurka T, Prendushi X. The prevalence and consequences of malnutrition risk in elderly Albanian intensive care unit patients. Clin Interv Aging. 2015;10:481-6.

Vetta F, Ronzoni S, Taglieri G, Bollea MR. The impact of malnutrition on the quality of life in the elderly. Clin Nutr. 1999;18(5):259-67

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2024