การพัฒนารูปแบบไมโครอิมัลชั่นของสารสกัดเมล็ดมะรุมที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ

ผู้แต่ง

  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, จังหวัดปทุมธานี
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • วิชุดา จันทะศิลป์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

สารสกัดเมล็ดมะรุม, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ไมโครอิมัลชัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดมะรุม และวิธีการเตรียมและพัฒนาตำรับที่มีสารสกัดเมล็ดมะรุมในรูปแบบไมโครอิมัลชัน

ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดเมล็ดมะรุม ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นร้อยละ 95 จะได้สารสกัดสีน้ำตาลเข้มและหนืด ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH Assay และวิธี ABTS Assay ด้วยค่า IC50 มีค่าเท่ากับ 54.46±0.02 µg/ml และ 26.47±0.03 µg/ml ตามลำดับ การพัฒนาสูตรตำรับไมโครอิมัลชันโดยการสร้างแผนภาพไตรภาคเทียม (Pseudo-ternary phase diagram) โดยสูตรตำรับไมโครอิมัลชันที่เหมาะสมประกอบด้วย Isopropyl myristate, สารลดแรงตึงผิวผสม และน้ำ 10, 50, 40 % w/w ได้ลักษณะทางกายภาพ สารละลายสีเหลืองใส  ไม่แยกชั้น และพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์ใช้รูปแบบไมโครอิมัลชัน ภายใต้สภาวะอุณหภูมิห้อง และภายใต้สภาวะเร่ง 6 รอบ มีความคงตัวดี

สรุปได้ว่า สารสกัดเมล็ดมะรุมมีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระได้และการพัฒนาในรูปแบบไมโครอิมัลชันมีความคงตัวสามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้

References

Zahra H., Mohammad A., Masoumeh K.. Sun protection factor, total phenol, flavonoid contents and antioxidant activity of medicinal plants from Iran. THJPH. 2019;18(7):1443-8.

Chen X., Sun-Waterhouse D., Yao W., Li X., Zhao M., You L., Free radical-mediated degradation of polysaccharides: Mechanism of free radical formation and degradation, influence factors and product properties. Food Chem. 2021;365;130524.

BK S. Moringa Oleifera – Nature’s gold. Imper J Interdiscip Res 2017;3:1175- 9.

Kumssa DB, Joy EJM, Young SD, Odee DW, Ander EL, Broadley MR. Variation in the mineral element concentration of Moringa oleifera Lam. and M. stenopetala (Bak. f.) Cuf.: Role in human nutrition. PLoS One 2017; 12:e0175503.

รัฐพล ศิลปรัศมี, จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย, ณัฐพร กาฬภักดี, ไพโรจน์ กาฬภักดี, ณฐภรณ์ ศรีจันทร์ และทศมา ไพรบึง. ผลของการเตรียมชาเมล็ดมะรุมด้วยลมร้อนและการแช่เยือกแข็งต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH assay. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์. 2565;16(2):105-18.

จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย และรัฐพล ศิลปรัศมี. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากต้นราชพฤกษ์ เพื่อป้องกันภาวการณ์ติดเชื้อทางผิวหนังในผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2562;4(4):72-8.

รัฐพล ศิลปรัศมี และจันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย. การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากสารสกัดมะเฟือง (Averrhoa carambola L.) ในรูปแบบไมโครอิมัลชัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์. 2565;16(3):127-36.

จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย, รัฐพล ศิลปรัศมี, และธธิธา เวียงปฏิ. ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดรากเห็ดหลินจือแดงเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวหนังในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดสระแก้ว.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์. 2565;17(1):41-51.

สุรีวัลย์ ดวงจิตต์, นิธิรัตน์ ประจันบาล, ภัทราพร สุทธิพงศ์, ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ และวรนันท์ รังสิมาวงศ์. การพัฒนาวิธีสกัดสารเคอร์ซิตินจากผงใบมะรุมโดยใช้สารลดแรงตึงผิวด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง.ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 17. 20-21 กรกฏาคม 2566. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. จังหวัดอุบลราชธานี: สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย; 2566. 197-207.

อุกฤต มากศรทรง และนวพร ลาภส่งผล. ความสามารถในการต้านออกซิเดชันของมะรุมด้วยวิธี ABTS และ FRAP. ใน:การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 15 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่น: 2562. 683-688

ศนิพร จันทร์บุรี, ธนพล กิจพจน์, กนกวรรณ พรมจีน และ ธันวมาส กาศสนุก. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มจากน้ำมันรำข้าวโดยการใช้ระบบไมโครอิมัลชัน. แก่นเกษตร 47:ฉบับพิเศษ1;67-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-07-2024