ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน พื้นที่ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ฐานะมาศ อินทร์พิทักษ์ คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การลดปริมาณขยะมูลฝอย, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนพื้นที่ตำบลหนองโพอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการลดปริมาณ ขยะมูลฝอยในครัวเรือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 293 ครัวเรือน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ด้วยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ได้แก่ การรับข้อมูลข่าวสารเรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอย การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย นโยบายเกี่ยวกับการลดปริมาณ  ขยะมูลฝอย มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนพื้นที่ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยปัจจัยนี้สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ร้อยละ 85.6 ทั้งนี้

 สามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนในการสนับสนุนปัจจัยในการส่งเสริมพัฒนาการลดปริมาณขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Adzawla W, Tahidu A, Mustapha S, Azumah SB. Do socioeconomic factors influence households’ solid waste disposal systems Evidence from Ghana. Waste Management & Research. 2019;37(1_suppl):51–7.

Khongpirun W, Thiphom S, Chanthorn W. Factors Associated with Waste Management Behaviors among Pongpa Village, Kaeng Sopha Sub-district, Wang Thong District, Phitsanulok Province, Thailand. Journal of Health Science. 2017;26(2):310–21.

อารีย์ พลภูเมือง, กัลยา หาญพิชาญชัย, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเขตเทศบาล ต.เมืองสรวง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4:147–61.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปัญหาขยะ [Internet]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://infotrash.deqp.go.th/news/78

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย [Internet]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2561

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบของขยะมูลฝอย [Internet]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 28 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://anamai.moph.go.th/th/department-of-health-services-manual

สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. จัดการปัญหาขยะด้วยหลัก 7R [Internet]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.gsei.or.th/articles/detail/510

ตุนท์ ชมชื่น, ทัศนีย์ ทุ่งวงค์. การเสริมสร้างการเสริมสร้างศักยภาพการ จัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนในเขตบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลแม่คำน้ำลัด อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2562;7(2):156–66.

องค์การบริการส่วนตำบลหนองโพ. สถานการณ์ขยะมูลฝอย [Internet]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 8 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nongphotakhli.go.th/home

จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎี และการประยุทใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศร. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ Utilization of the PRECEDE MODEL in Health Promotion. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562;12(1):38–48.

องค์การบริการส่วนตำบลหนองโพ. จำนวนประชากรและครัวเรือน [Internet]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 14 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nongphotakhli.go.th/contact.php

ศราวุฒิ ทับผดุง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. [สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร]: สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

ธนวรรธน์ ตรีศูนย์, จันทร์เพ็ญ เจริญทรัพย์. การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี. 2561;1(2):22–9.

อภินัทธ์ นิลสุข, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในอําเภอทับสะแกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารพฤติกรรมศาสตร,เพื่อการพัฒนา. 2565;14(2):19–38.

ศุภกิจ ศรีสำราญ. พฤติกรรมและปัจจัยเชิงสาเหตุในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(2):46–59.

พิชญามุญช์ แขวงเมือง, วิทยา เจริญศิริ, ยุภาพร ยุภาศ. การจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

นภัส น้ำใจตรง, นรินทร์ สังข์รักษา. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนใน ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2562;13(2):179–90.

Bloom A. The education of democratic man: Emile. Daedalus. 1979;25(1):135–53.

ศุภษร วิเศษชาติ, สมบัติ ศิลา, สุนิศา แสงจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2560;5(2):422–45.

ประหยัด แจ้งแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตเครือข่ายอําเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2565;31(2):68-80.

Fernando RLS. Solid waste management of local governments in the Western Province of Sri Lanka: An implementation analysis. Waste Management. 2019;84:194–203.

Ike C, Ezeibe C, Anijiofor S, Daud N. Solid waste management in Nigeria: problems, prospects, and policies. The Journal of Solid Waste Technology and Management. 2018;44(2):163–72.

Knickmeyer D. Social factors influencing household waste separation: A literature review on good practices to improve the recycling performance of urban areas. Journal of cleaner production. 2020;245:118605.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024