ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตราย ในครัวเรือนของประชาชนในตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ธัชชัย สุขยัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ขยะอันตรายในครัวเรือน, พฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน, ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดแยกขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือนของประชาชน และศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือนของประชาชน ในตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จำนวน 315 คน สถิติที่ใช้วิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และสถิติการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า.ปัจจัยส่วนบุคคล รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p.<.0.01 ส่วนปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.325, p < 0.001 การรับรู้ความรุนแรงของขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ r = 0.117, p < 0.05 การรับรู้ถึงประโยชน์ต่อการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.374, p < 0.001 การรับรู้สิ่งชักนำสู่การจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.456, p < 0.001 และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.523, p < 0.001

References

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th.

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเก็บรวบรวมขนส่งและกำจัดขยะอันตรายจากชุมชน. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์; 2549.

ลลิตา ทองบุราณ, มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล. พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2565;2(1):7-21.

ภานุ พ้นภัย. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธ์ิ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น.ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2550.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. ชีวสถิติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2550.

Best, John W. Research is Evaluation. 3rded. Englewod cliffs : N.J.Prentice Hall. 1977.

Rosenstock, I.M. (1974). Historical originals of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2: 1-9.

วริษฐา แสงยางใหญ่, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;12(1):76-87.

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. การแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในชมชนเขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2545.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. แนวคิดและทฤษฎีเกยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม [อินเทอร์เน็ต].. [เข้าถึงเมื่อ 21 เม.ย.2566]; เข้าถึงได้จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Attitude.htm.

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. พฤติกรรมของแม่บ้านในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในอาคารที่พักอาศัยของกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 เขตหลักสี่. วารสารวิทยบริการ. 2556;24(1):84-94.

กัลยาณี อุปราสิทธิ์, ณรงค์ ณ เชียงใหม่, วันทนีย์ ชวพงค์. พฤติกรรมการจัดการขยะมูล ฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลสันป่าโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 2558;6(2):163-71.

บุญจง ขาวสิทธิวงษ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกมูลฝอยชุมชน: ศึกษากรณีเขตยานนาวาและเขตบางกะปิ.วารสารพัฒนาสังคม. 2554;13(1):33-58.

วีรวัลย์ แก้วบุญชู, วนิพพล มหาอาชา, เสรี วรพงษ์, ธเนศ เกษศิลป์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษาเขตดอนเมือง กรุงเทพฯ: 2562.

สุธีมา พลราชม และคณะ. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการแยกขยะ สมรรถนะแห่งตนในการแยกขยะ และพฤติกรรมการแยกขยะของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 16; นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2561. (น. 563-571).

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2561;12(1):180-190.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-05-2024