ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • นราวิชญ์ บุญเทียน สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 322 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม 2566 ถึงสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมีปฏิสัมพันธ์ ร้อยละ 80.1 อยู่ในระดับวิจารณญาณ ร้อยละ 17.4.และระดับพื้นฐาน ร้อยละ 2.5 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ระดับปานกลาง ร้อยละ 78.6.ระดับดี ร้อยละ 18.9 และระดับไม่ดี ร้อยละ 2.5 และมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ระดับปานกลาง ร้อยละ 81.4 ระดับดี ร้อยละ 18.6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.814 และ 0.173 ตามลำดับ ซึ่งร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 46.6

จากผลการศึกษานี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและมีสุขภาพที่ดีต่อไป

References

ณรงค์ คุณสุข. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

สุปราณี จินาสวัสดิ์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัย พะเยา; 2559.

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine 2008;67(12):2072-8.

Klyver K. Social support timing and persistence in nascent entrepreneurship: exploring when in strumental and emotional support is most effective. JSBM 2018;51(4): 709–734.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed. Upper Saddle River: New Jersey; 2008.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Schaffer, M. A. Social support. In Peterson, Bredow T. S. (Ed.). Middle range theories, Application to nursing research. Philadelphia: Lippincott: Williams& Wilkins; 2004.

Best JW. Research is Evaluation. 3rded. Englewod cliffs: N. J. Prentice Hall; 1977.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์; 2561.

จิตนภา ฉิมจินดา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

เนาวรัตน์ ช่างไม้. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. [วิทยาศาสตรมหาบัญฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2556.

จินตนา บุญพร. อิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2565;31(2):97-104.

พงศธร ศิลาเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ. [ระดับปริญญา]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2024