ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของประชาชนวัยทำงาน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจเลือกใช้บริการ, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, ส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะประชากรกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนวัยทำงาน จำนวน 275 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย 1) แบบสอบถามปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด 2) แบบสอบถามปัจจัยด้านจิตวิทยา และ 3) แบบสอบถามการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ..85, .82 และ.87 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย 1) การตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พบว่าการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 76.4 และระดับปานกลาง ร้อยละ 23.60 2) ปัจจัยด้านลักษณะประชากร มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเท่ากับ .83 ด้านกระบวนการให้บริการ มีค่าเท่ากับ .86 ด้านการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .87 ด้านความเชื่อมีค่าเท่ากับ .88 และด้านการจูงใจ มีค่าเท่ากับ .87
References
Dowd JE. Definition of an older person. Proposed working definition of an older person in Africa for the MDS project. World Health Organization. Geneva: WHO; 2021.
United Nations, Department of Economic and Social Affair, Population Division. (2021). World Population Prospects: The 2021 Revision, DVD Edition.
กรมการปกครอง. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด [เข้าถึงเมื่อ 31 ธ.ค.2565] 2565. เข้าถึงได้จาก:
http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306335_0.pdf.
กรมการปกครอง. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ เดือนมกราคม 2566; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. นโยบายของกรมกิจการผู้สูงอายุ. [เข้าถึงเมื่อ 31 ธ.ค.2565]. 2565. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/main/law_list.php?id=33.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://esta.hss.moph.go.th/.
สุประวีณ์ อนุมานศิริกุล. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการเลือกใช้สถานบริการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.
เกษรา วิจิตขะจี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.
ละเอียด ศิลาน้อย. วิธีวิทยาการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณ (เชิงสำรวจและเชิงทดลอง). กรุงเทพฯบางกอกบลูพริ้นต์; 2558.
Best JW. Research is Evaluation. 3rded. Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. วารสารรังสิตสารสนเทศ. 2565;28(1):169-92.
ทัศพร ชูศักดิ์ ชวภณ พุ่มพงษ์ และอังศุมาลิน อินทร์ฉ่ำ. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีพุทธ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. Singburi Hospital Journal 2566;32(1):140-52.
พศิน ชื่นชูจิตต์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบ้านพักคนชรา ในยุค New normal [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
ระพีพัฒน์ ช้อนสวัสดิ์. ส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพบริการพฤติกรรมการเลือกใช้สถานบริบาลผู้สูงอายุและการจัดการธุรกิจสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.
วิสิฐ ประกอบพันธ์. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว