ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการคุณภาพข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ราเชนทร์ เสรีสกุลไชย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปะรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดการคุณภาพข้อมูล, งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, แรงจูงใจ, การสนับสนุนจากองค์การ

บทคัดย่อ

การจัดการคุณภาพข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีคุณภาพและน่าเชื่อถือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและประเมินผลการดำเนินงานในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการคุณภาพข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 208 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิของแต่ละแห่ง จำนวน 208 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตรวจสอบการบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ และการใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบไควสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า การจัดการคุณภาพข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิจังหวัดนครสวรรค์ มีคุณภาพ ร้อยละ 26.4 และไม่มีคุณภาพ ร้อยละ 73.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้แก่ เพศ การได้รับการฝึกอบรม แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการสนับสนุนจากองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ การจัดการข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีคุณภาพผู้บริหารทุกระดับ ควรสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการสนับสนุนองค์การ เพื่อให้การจัดการคุณภาพข้อมูลของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ มีประสิทธิภาพต่อไป

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คูมือการปฏิบัติงานการจัดเก็บ และจัดส่งข้อมูล ตามโครงสร้างมาตรฐานขอมูลดานสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.2 (กันยายน 2559). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2560.

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีงบประมาณ 2562. นนทบุรี: กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน; 2562.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์. สรุปผลการประเมินมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เขตสุขภาพที่ 3 ปีงบประมาณ 2561. นครสวรรค์: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. สรุปผลการประเมินมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2561. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์; 2562.

นิรันดร์ ถาละคร, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดหนองคาย. วารสารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

สุจรรยา ทั่งทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านสุขภาพ (21 แฟ้ม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น: วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

ธรธารี จันทาวุฒิ. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564.

Herzberg F, Mausner B, Snyderman BB. The Motivation to Work. U.S.A.: Transaction Publishers; 1959.

ฉวีวรรณ ทองทาสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. Singburi Hospital Journal 2566;32(1):28-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2024