การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อและภาวะไตวายเฉียบพลัน หลังได้รับการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • สีนวน บุญนาค กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, การยุติการตั้งครรภ์, ภาวะช็อก, ภาวะไตวายเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การยุติการตั้งครรภ์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดให้การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทำได้โดยวิธีการใช้ยาและวิธีการทางศัลยกรรม สำหรับวิธีการยุติการตั้งครรภ์ทางศัลยกรรมนี้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสอดใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปในโพรงมดลูกซึ่งอาจส่งผลให้มดลูกทะลุ การติดเชื้อและรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ทำให้การทำงานของระบบไหลเวียนและระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกายทำงานผิดปกติรุนแรงจนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งจากการศึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อและภาวะไตวายเฉียบพลันหลังได้รับการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี 1 ราย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการ อาการแสดง ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติ การเจ็บป่วย ประวัติการรักษาพร้อมทั้งประเมินสภาพผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ แล้วนำมาวิเคราะห์กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ระบุกิจกรรมการพยาบาล ประเมินผลตามกระบวนการพยาบาล

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยหญิงอายุ 21 ปี หลังได้รับการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์แล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนมดลูกทะลุจากการทำหัตถการเพื่อยุติการตั้งครรภ์เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงเข้าสู่ภาวะช็อกและมีภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยได้รับการประเมินภาวะช็อก จากการติดเชื้อและภาวะไตวายเฉียบพลันและรายงานแพทย์ให้การรักษาและการพยาบาลด้วยความรวดเร็วสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้ปลอดภัย ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 5 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อและภาวะไตวายเฉียบพลันหลังได้รับการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและวิกฤตทางสูติศาสตร์ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาและการพยาบาลด้วยความรวดเร็วเพื่อลดและป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว

References

เบญญาภา ธิติมาพงษ์. การพยาบาลสตรีที่มีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. ในสุนันทา ยังวานิชเศรษฐ, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ, บรรณาธิการ. พยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 เล่ม 1. สงขลา:โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2564. หน้า 50-64.

กำแหง จาตุรจินดา. ท้องไม่พร้อม:แท้งที่ปลอดภัยมุมมองทางกฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพ.ใน: เพิ่มศักดิ์ สุเมฑศรี, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อรพินธ์ เจริญผล, บรรณาธิการ. เสริมพลังการดูแลปริกำเนิดในยุคใหม่.กรุงเทพฯ;ยูเนียนครีเอชั่น. 2564. หน้า 261-70.

กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: เฌอมาศ; 2562

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพ.ศ. 2565-2567. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่องการทำแท้ง[อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rtcog.or.th/files/1687830531_202b237.pdf

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิงห์บุรีประจำปี 2564-2566. โรงพยาบาลสิงห์บุรี; 2566.

รัชนี ผิวผ่อง. การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะช็อกและอวัยวะล้มเหลวหลายอวัยวะ [อินเทอร์เนต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/7873/การพยาบาลผู้ป่วยช็อกและอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ.pdf.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และseptic shock (ฉบับร่าง) [อินเทอร์เนต] 2558. [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.ayhosp.go.th

Okamoto K, Tamura T, Sawatsubashi Y. Sepsis and disseminated intravascular coagulation. Intensive Care 2016, [cite 2023 Oct 10] Retrieved from: https://jinten sivecare.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/s40560-016-0149-0

Russell JA, Rush B, Boyd J. Pathophysiology of Septic Shock. Crit Care Clin 2018;34(1):43-61. PMDI:29149941.

ปรีชา ธำรงไพโรจน์. การใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเหมาะสมในภาวะ เซพซิส. ใน ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์,มณฑิรา มณีรัตนะพร, สุรัตน์ ทองอยู่ และนัฐพล ฤทธิ์ทยมัย,บรรณาธิการ.อายุรศาสตร์ทันยุค. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2562. หน้า 81-90.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัย [อินเทอร์เนต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://rh.anamai.moph.go.th/th/medical-abortion/

สถิติและสถานการณ์การแท้งในประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ข้อมูลและสถิติ.[อินเทอร์เนต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 9 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.womenhealth.or.th/home-facts-aboriton.html.

Sarkar M, Niranjan N, Banyal PK. Mechanisms of hypoxemia. Lung India 2017;34(1):47-60. PMDI:28144061

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2024