ปัจจัยด้านมารดาและด้านเด็กที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าในเด็กปฐมวัย ในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
เด็กปฐมวัย, ปัจจัยด้านมารดา, ปัจจัยด้านเด็ก, พัฒนาการสงสัยล่าช้าบทคัดย่อ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญ แต่มีงานวิจัยจำนวนน้อยที่ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการล่าช้ารายด้าน การศึกษา เชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านมารดาและด้านเด็กที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้ารวมและพัฒนาการสงสัยล่าช้ารายด้านในเด็กปฐมวัยในอำเภอจอมบึง ประชากรในการวิจัยคือ มารดาและเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนในชุมชนในพื้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2565 และคลอดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จำนวน 164 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึก ประกอบด้วย ปัจจัยด้านมารดาและด้านเด็ก และผลประเมินพัฒนาการเด็กตาม Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ chi-square test และ binary logistic regression
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้า ได้แก่ อายุของเด็กและภาวะศีรษะเล็ก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวสงสัยล่าช้า ได้แก่ อายุของมารดาขณะตั้งครรภ์และอายุของเด็ก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาสงสัยล่าช้า ได้แก่ การให้นมบุตรใน 6 เดือนแรก, อายุของเด็ก และภาวะศีรษะเล็ก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาสงสัยล่าช้า ได้แก่ ภาวะศีรษะเล็ก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการใช้ภาษาสงสัยล่าช้า ได้แก่ อายุของเด็กและภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด..และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมสงสัยล่าช้า ได้แก่ อายุของเด็ก, ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดและภาวะศีรษะเล็ก
ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ให้ความรู้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเรื่องภาวะศีรษะเล็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และวางแผนมีบุตรในช่วง 20-35 ปี เพื่อช่วยป้องกันพัฒนาการสงสัยล่าช้าในเด็กปฐมวัย
References
จินตนา พัฒนพงศ์ธร. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัยสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2561.
กิตติ กรรภิรมย์, พวงผกา มะเสนา. การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารแพทย์เขต 4–5. 2560;36(4):305-16.
ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;5(2):161-71.
ชัชฎา ประจุดทะเก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;12:5-19.
บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, บุษบา อรรถาวีร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5. วารสารเกื้อการุณย์ 2563;27(1):59–70.
ดลจรัส ทิพย์มโนสิงห. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่มารับบริการที่ศูนย์ พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2565;17(1):51-6.
เยาวรัตน์ รัตน์นันต์. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8 [อินเทอร์เน็ต]. 2559; [เข้าถึงเมื่อ 8 ก.ค.66]. เข้าถึงได้จาก:https://hpci.anamai.moph.go.th/hl/Km/KmDetail.aspx?ResCode=25600012
สิริรัตน์ จัตกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัยในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564;13(2):87-102.
พูนศิริ ฤทธิรอน, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น, นิชนันท์ อินสา, อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, รัชดาวรรณ บุญมีจิว, แววตา ระโส. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564;14(3):42-56.
ขวัญข้าว ต่วนชื่น. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ในเด็กอายุ 1–5 ปี ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4–5 2565;41(1):669-80.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM) กระทรวงสาธารณสุข 2564.
ยุทธนา ศิลปรัสมี, สิตา ฤทธิ์ธาธรรม, วีณา ธิติประเสริฐ, เสาวลักษณ์ วงค์นาถ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาพัฒนาการไม่สมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2562.
Yang, Y., Shi, L., Jin, X., Tong, S. Association of perinatal factors with suspected developmental delay in urban children aged 1–36 months - a large-scale cross-sectional study in China. BMC Pediatrics 2023; 23(11). doi:10.1186/s12887-022-03819-9
World Health Organization [WHO]. Recommended definitions, terminology and format for statistical tables related to the perinatal period and use of a new certificate for cause of perinatal death. Acta Obstetricia et Gynecologicia Scandinevica 1977;56(3):247-53.
ณัฐยา ชวนะเวสน์ และกรรณิการ์ บูรณวนิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการคลอดในทารกแรกเกิด คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563;64(1):3-9.
สมัย ศิริทองถาวร. การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63: 3-12.
ประภาภรณ์ จังพานิช, วสุรัตน์ พลอยล้วน. การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2564. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2566;46(1):41-53.
von der Hagen M, Pivarcsi M, Liebe J, von Bernuth H, Didonato N, Hennermann JB, et al. Diagnostic approach to microcephaly in childhood: a two-center study and review of the literature. Developmental Medicine and Child Neurology 2014;56(8):732–41.
Sorgente V, Cohen EJ, Bravi R, Minciacchi D. Crosstalk between gross and fine motor domains during late childhood: the influence of gross motor training on fine motor performances in primary school children. International Journal of Environmental Research and Public Health 2021;18(21):11387.
Barnett LM, Lai SK, Veldman SLC, Hardy LL, Cliff DP, Morgan PJ, et al. Correlates of gross motor competence in children and adolescents: a systematic review and meta-analysis. Sports Medicine 2016;46(11):1663–88.
Riandini AM, Sudaryanti L, Haryanto J. The relationship between exclusive breastfeeding and motor development in Infants 6–9 months Old. Journal of Computational and Theoretical Nanoscience 2021;18(1-2):380-3.
Sangka CEP, Umijati S, Rochmah N. Correlation between breastfeeding and 3–24 months old children development in Keputih health center Surabaya. Jurnal Widya Medika 2021;7(1):60-9.
Manna S, Pal A, Dhara PC. Fine motor skills and its growth
pattern in variation to age and gender on Bengali (Indian) primary school children: A cross sectional study. International Journal of Health Sciences & Research 2018;8(5):51-61.
Bolk J, Padilla N, Forsman L, Broström L, Hellgren K, Åden U. Visual–motor integration and fine motor skills at 6½ years of age and associations with neonatal brain volumes in children born extremely preterm in Sweden: a population-based cohort study. BMJ Open 2018;8(2):e020478. doi: 10.1136/bmjopen-2017-020478
Taylor HG, Filipek PA, Juranek J, Bangert B, Minich N, Hack M. Brain volumes in adolescents with very low birth weight: effects on brain structure and associations with neuropsychological outcomes. Developmental Neuropsychology 2011;36(1):96–117.
Paus TSAA. Structural maturation of neural pathways in children and adolescents: in vivo study. Science 1999;283(5409):1908–11.
Diener ML, Kim DY. Maternal and child predictors of preschool children's social competence. Journal of applied developmental psychology 2004;25(1):3-24.
Bowlby J. Attachment and loss. Vol. 1: Attachment. 2nd ed. New York: Basic Books; 1969.
Reangtragule S. Child and Adolescent Psychiatry textbook. 2nd ed. Bangkok: Reangaew publishing; 2012.
Wilar R, Masloman N, Lestari H, Tjeng WS. Correlation between hyperbilirubinemia in term infants and developmental delay in 2-4 year-old children. Paediatrica Indonesiana 2010;50(3):154-8.
จันทรมาศ เสาวรส. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด: ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2562;9(1):100-9.
อัจฉรา ตันสังวรณ์. ผลการติดตามพัฒนาการเด็กทารกกลุ่มเสี่ยงระยะ ยาวที่โรงพยาบาล มหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564;18(3):187-200.
Ghani-Kakhki M, Robinson PN, Morlot S, Mitter D, Trimborn M, Albrecht B, et al. Two Missense Mutations in the Primary Autosomal Recessive Microcephaly Gene MCPH1 Disrupt the Function of the Highly Conserved N-Terminal BRCT Domain of Microcephalin. Molecular Syndromology 2012;3(1):6–13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว