การให้คำปรึกษาปัญหาโรคผิวหนังผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ผู้แต่ง

  • ณิชา เจนมานะชัยกุล กลุ่มงานอายุรกรรม, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยใน, แพทย์สาขาอายุรกรรม, การปรึกษาที่จำเป็น, ปรึกษาปัญหาโรคผิวหนัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบความจำเป็นในการให้คำปรึกษาปัญหาโรคผิวหนังสำหรับแพทยศาสตรศึกษาทางด้านอายุรกรรมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ ในการวางแผนการเรียนการสอนต่อไป โดยศึกษาจากข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 351 ราย ได้รับการปรึกษาปัญหาโรคผิวหนัง และได้รับการดูแลรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังภายในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึง เดือนธันวาคม 2565 เปรียบเทียบสัดส่วนการให้คำปรึกษาตามความจำเป็นของโรคที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยในจำนวน 275 ราย เป็นการปรึกษาของแพทย์สาขาอายุรกรรมและจำนวน 76 ราย เป็นการปรึกษาของแพทย์สาขาอื่น ๆ โดยใช้ gif.latex?x^{2} test เป็นตัวสถิติเปรียบเทียบ

ผลการศึกษาพบว่าสัดส่วนการให้คำปรึกษาตามความจำเป็นสำหรับโรคผิวหนังที่ส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยในเมื่อเปรียบเทียบแพทย์สาขาอายุรกรรมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ พบว่าแพทย์สาขาอายุรกรรมได้ให้คำปรึกษาตามความจำเป็นในการรักษามากกว่าแพทย์สาขาอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 58.5 และแพทย์สาขาอื่น ๆ ที่ร้อยละ 44.7 (p<0.05) และอัตราส่วน (Odd ratio) ระหว่างแพทย์สาขาอายุรกรรมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ คือ 1.75, 95%CI (1.1-2.9) ซึ่งสรุปได้ว่าการให้คำปรึกษาของแพทย์สาขาอายุรกรรมตามความจำเป็นมีความเหมาะสมมากกว่าแพทย์สาขาอื่น ๆ

References

Khaonim K. Potential in providing care for patients with primary skin diseases of subdistrict health promotion hospitals in 14 southern provinces. Journal of The Department of Medical Services. 2019;44(5):158-66.

Pacharavijit P. Prevalence of Skin Disease in Sai Noi Hospital. Region 4-5 Medical Journal. 2020;39(3):440-53.

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. คุณค่าของข้อมูลสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2021;4:391-2.

เดือนเพ็ญ โยเฮือง. คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.4 ปีงบประมาณ 2564. ใน: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, บรรณาธิการ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2021.

Baur B, Sarkar J, Manna N, Bandyopadhyay L. The pattern of dermatological disorders among patients attending the skin OPD of a tertiary care hospital in Kolkata, India. IOSR journal of dental and medical sciences 2013;3(4):4-9.

Mancusi S, Neto CF. Inpatient dermatological consultations in a university hospital. Clinics. 2010;65(9):851-5.

Neamtess S. Statistical information Overview of patient service information Institute of Dermatology. 2021. Institute of Dermatology. 2021.

Nahass GT. Inpatient dermatology consultation. Dermatologic clinics. 2000;18(3):533-42.

Peñate Y, Guillermo N, Melwani P, Martel R, Borrego L. Dermatologists in hospital wards: an 8-year study of dermatology consultations. Dermatology. 2009;219(3):225-31.

McEwan EK. Seven steps to effective instructional leadership: Corwin Press; 2002.

Kessler C, Kutka BM, Badillo C. Consultation in the emergency department: a qualitative analysis and review. The Journal of emergency medicine. 2012;42(6):704-11.

Hasanpoor E, Bahadori M, Yaghoubi M, Haghgoshayie E, Mahboub-Ahari A. Evidence-based management as a basis for evidence-based medical consultation. BMJ evidence-based medicine. 2020;25(3):83-4

Williams A, Bhatia A, Kanish B, Chaudhary PR, Samuel CJ. Pattern of inpatient dermatology consultations in a tertiary care centre from Northern India. Journal of Clinical and Diagnostic Research: JCDR. 2016;10(12):WC07.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-02-2024