ประสิทธิผลของโปรแกรมการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ร่มเกล้า วัฒนวราห์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด, โรงพยาบาลศรีสังวาล จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, โปรแกรมการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ทั้งหมดที่มารับบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-Square Tests, Independent Samples Test.และ Paired Samples Test

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ คะแนนความวิตกกังวลก่อนการได้รับโปรแกรมการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ และไม่ได้รับโปรแกรมการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนความวิตกกังวลของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ มีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

References

กรพัชชา คล้ายพิกุล, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุวารสาร. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ. 2561;21(42):123-37.

จงดี ปานสุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวความสะอาดของลำไส้ และความวิตกกังวลในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2565;12(1):136-48.

ณปภัช โพธิ์พรหม. การพัฒนาระบบคะแนนช่วยคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่: ทางเลือกในการเข้าถึงบริการสุขภาพ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี. 2558.

นิตยา กลิ่นรัตน์, มณฑิรา ชาญณรงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์และการศึกษา. 2564;1(3):68-81.

พารุณี วงษ์ศรี และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563;10(1):209-19.

ภัคภร เกตุสีสังข์, อุษาวดีอัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และธวัชชัย อัครวิพุธ. ผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องต่อคุณภาพของการเตรียมลำไส้และความวิตกกังวลในผู้ที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักแบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2558;33(3):61-73.

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์.ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต้องเตรียมตัวอย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย.66]. เข้าถึงได้จาก:https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/colonoscopy

เวชระเบียน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. 2565

สุนิษฐา เชี่ยวนาวิน. ผลของสื่อวีดิทัศน์โปรแกรมต่อระดับความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลนครพนม.2562;6(1):18-28.

โสภณา ว่องทวี. บทบาทของพยาบาลกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(2):142-8.

สมชาย อมรโยธิน. การส่องกล้องลำไส้ใหญ่. เมดิคอลไทม์. 2556;15(335):17-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-03-2024