อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองอุดตันเฉียบพลัน ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • ศศรักษ์ กิจธรธรรม กลุ่มงานอายุรกรรม, โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง, โรคเบาหวาน, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดแดงใหญ่สมองอุดตัน, โรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การศึกษาย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองอุดตันเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและนอก 3 ปี มีกลุ่มตัวอย่าง 312 ราย ปัจจัยเชิงสาเหตุ 2 กลุ่มคือ ปัจจัยด้านผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุม ได้แก่ เพศ อายุ กับปัจจัยด้านผู้ป่วยที่สามารถควบคุม ได้แก่ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคไขมันในเลือดสูง ดัชนีมวลกาย และการสูบบุหรี่

ผลการศึกษาพบ ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองอุดตัน 92 ราย โดยวินิจฉัยจากอาการและภาพทางรังสี มีอาการของ Partial Anterior infarcts 84 ราย ผลการวิเคราะห์พบ มีเพียงปัจจัยด้านผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมได้คืออายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองอุดตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p เท่ากับ 0.017 ในขณะที่อาการและอาการแสดงตาม OCSP มีความสัมพันธ์กับ TOAST Classification อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถิติ ที่ระดับ 0.002 และ <0.001

นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยเบาหวานมีอาการและอาการแสดงของ Lacunar infarcts ถึงร้อยละ 60.3 ดังนั้น การตรวจระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันรายใหม่จึงมีความสำคัญ รวมทั้งการตรวจติดตามประจำปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันซ้ำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมและความทุพพลภาพ

References

สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยา 2021;37(4):54-60.

Jose M, Ramos-Lima M, Brasileiro IC, Lima TL, Braga-NetoI P. Quality of life after stroke: impact of clinical and sociodemographic factors. Clinics 2018;73:e418:1-7.

Rangel ESS, Belasco AGS, Diccini S. Quality of life of patients with stroke rehabilitation. Acta Paul Enferm 2013;26(2):205-12.

สุชาฎา วรินทร์เวช. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ใน: สุชาฎา วรินทร์เวช. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการข้าราชการครองตน ครองคน ครองงานสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร. เบาหวาน. ใน: ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. ตำราอายุศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Spratt N, Wang Y, Levi C, Ng K, Evans M, Fisher J. A prospective study of predictors of prolonged hospital stay and disability after stroke. J Clin Neurosci 2003;10(6):665-9.

Chang JY, Kim WJ, Kwon JH, Kim BJ, Kim JT, Lee J, et al. Prestroke glucose control and functional outcome in patients with acute large vessel occlusive stroke and diabetes after thrombectomy. Diabetes Care 2021;44(9):2140–8.

Talari K, Goyal M. Retrospective studies – utility and caveats. J R Coll Physicians Edinb 2020;50:398–402.

Anne M, Euser AM, Zoccali C, Jager KJ, Dekker FD. Cohort Studies: Prospective versus Retrospective. Nephron Clinical Practice 2009;113(3):c214–7.

Vokonas PS, Kannel WB. Diabetes mellitus and coronary heart disease (CHD) are heavily entwined clinical conditions, particularly in the elderly. Clinics in Geriatric Medicine 1996;12(1):69-78.

Zhu S, McClure LA, Lau H, Romero JR, White CL, Babikian V, Nguyen T, Benavente OR, Kase CS, Pikula A. Recurrent vascular events in lacunar stroke patients with metabolic syndrome and/or diabetes. Neurology 2015;85(11):935-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-03-2024