ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ในผู้สูงอายุ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • แสงดาว จารุจิตร คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
  • เจตนา วงษาสูง คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์กัญชา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้สูงอายุมีการแสวงหาแนวทางสำหรับดูแลตนเองเพื่อลดการเจ็บป่วยและบรรเทาอาการต่างๆ ผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้สูงอายุเลือกใช้ ซึ่งต้องใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาอย่างถูกต้อง

วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาของผุ้สูงอายุ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง 263 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ผู้สูงอายุมีการแสวงหาแนวทางเพื่อลดการเจ็บป่วยและบรรเทาอาการต่างๆ ผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นทางเลือกหนึ่ง   ที่ผู้สูงอายุเลือกใช้ ซึ่งต้องใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาอย่างถูกต้อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา และความสัมพันธ์ระหว่าง  ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาของผู้สูงอายุ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง 263 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีดัชนีความสอดคล้อง(IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 และทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 และ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาอยู่ในระดับไม่ดี และพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาอย่างมีนัยสำคัญ    ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก (p=.004,r= .177) 

ผู้สูงอายุที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับต่ำจะมีพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาอยู่ในระดับไม่ดีด้วย จึงควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มระดับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาได้อย่างถูกต้อง

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159

อิสรภาพ มาเรือนและคณะ. รายงานการวิจัย: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักของผู้สูงอายุต่อผลกระทบของการใช้สารเสพติดประเภทกัญชาโดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://cads.in.th/cads/media/upload/1621322785-รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์.pdf

กัญวลัย บุญมาก, พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อการใช้กัญชาของประชากรในเขตภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย 2564; 26(2): 69-85.

พัฒณปกรณ์ ดอนตุ้มไพร. นโยบายกัญชาเสรีในฐานะพืชทางการแพทย์. Journal of Roi Kaensarn Academic2564; 6(1): 184-198.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. ผลิตภัณฑ์จากกัญชา สร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ บริโภคอย่างไร ให้เหมาะสม.[อินเตอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://infocenter.nbtc.go.th/storage/files/bjWed2W2X4rH2O5S4xLuzBELioEDOHO73pvylp2N.pdf

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และและโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข2561; 12(1): 71-94.

World Health Organization. Health literacy [Internet]. 2023 [Cited 2023 Nov 28]. Available form: https://www.who.int/teams/health-promotion/enhanced-wellbeing/ninth-global-conference/health-literacy

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. จังหวัดสระบุรีเปิดงานเทศกาลดอกกัญชงกัญชาบานที่อำเภอวิหารแดง. [อินเตอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/ news/detail/TCATG220617144032759

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15(3): 256-267.

Krejcie.R.V. & D.W.Morgan. Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement1970; 30: 607-601.

Bloom, B.S. Mastery learning. UCLA-CSEIP evaluation Comment. Los Angeles: University of California at Los Angeles; 1971.

กรพินทุ์ ปานวิเชียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี2563; 3(1): 31-42.

ศิริลักษณ์ อัคพิน, กรกนก เสาร์แดน, ลลดา ทองจำนงค์, ญาตาวี เซ็นเชาวนิช. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์. [อินเตอร์เน็ต] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_research/ research_Split/14.pdf

ลลินา สกุลพาเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มวัยเรียนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ2566; 16(2): 230-243

ณิตชาธร ภาโนมัย, ธนันรักษ์ วัชราธร, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, ชาตรี เจริญชีวะกุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา2565; 8(1): 49-67.

สุนันทินี ศรีประจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต] 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2562000901.pdf

นัชชา เรืองเกียรติกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารกรมการแพทย์2565; 47(1): 80-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023