การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ร่วมกับภาวะช็อก: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรสา เอี่ยมสม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

โรคปอดอักเสบร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการใส่ท่อหลอดลมคอภายหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้รับการรักษาด้วย High-Flow Nasal Cannula ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ช่วงเดือนเมษายน 2566 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล รวมระยะวิกฤต กึ่งวิกฤต และเตรียมจำหน่ายกลับบ้าน

ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยหญิงอายุ 89 ปี เป็นความดันโลหิตสูงและเบาหวานร่วมกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ รับประทานอาหารเองทางปากที่บ้าน ญาติแจ้งว่า มีกินอาหารและน้ำมีสำลัก มีไข้และหายใจเหนื่อยหอบ ได้รับวินิจฉัยว่าเป็น ปอดอักเสบ (Pneumonia) ร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

(Acute Respiratory Failure) ได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงและได้รับยาปฏิชีวนะ และหย่าเครื่องช่วยหายใจด้วยการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงและสามารถหายใจเองได้ โดยได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาลและจำหน่ายกลับบ้านได้ รวมระยะเวลาอยู่โรงพยาบาล 14 วัน

ดังนั้นบทบาทของพยาบาลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และทักษะในการดูแลให้การพยาบาลในภาวะวิกฤติเพื่อติดตามประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและลดการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

References

Hinkle JL, Cheever KH. Brunner and Suddar-th’s textbook of medical-surgical nursing (14thed). Wolters kluwerindia Pvt Ltd; 2018.

พรรณิภา บุญเทียร. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบ.ใน วันดี โตสุขศรี และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส; 2559: 38-56.

เพชร วัชรสินธุ์. High-flow nasal cannula O2 therapy. Clinical Critical Care 2017; 25(2): 32-36.

สิริรัตน์ คำแมน, มงคล สุริเมือง, และศรีสุดา อัศวพลังกูล.ผลของการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ Non-invasive ventilator ชนิด high flow nasal cannula ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลแม่สอด.[เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ศ.2563]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.71.172/academic/web/files/2563/r2r/MA2563-001-02-0000000192-0000000078.pdf

Helviz Y, Einav S. A systematic review of the high-flow nasal cannula for adult patients. Annual Update in Intensive Care and Emer-gency Medicine, 2018;177-91.

ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, และสุรัตน์ ทองอยู่. การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับการรักษาด้วย High flow nasal cannula. เวชบันทึกศิริราช 2563; 13(1): 60-68.

เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(2): 72-82.

Baldomero AK, Melzer A, Greer N, Majeski BN, Macdonald R, Wilt TJ. Effectiveness and harms of high-flow nasal oxygen (HFNO) for acute respiratory failure: a systematic review pro-tocol. BMJ 2020; 10(2): 1-5.

Rochwerg B, et al. The role for high flow nasal cannula as a respiratory support stra-tegy in adults: a clinical practice guideline. Intensive Care Medicine 2020; 46(12): 2226-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023