การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุนทรี เรืองสวัสดิ์ โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • ศิริเนตร สุขดี อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้าย, ดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การศึกษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง 1 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ด้วยอาการสำคัญคือ มีเลือดออกมากจากแผลเรื้อรังบริเวณก้อนที่คอด้านซ้ายได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งโพรงจมูกระยะที่ 4 แบ่งระยะโดยระบบ Kadish คือมะเร็งมีการกระจายไปยังอวัยวะไกล เป็นระยะสุดท้ายของการดำเนินโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 1 ปี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลรักษาแบบประคับประคองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้าย โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยลดอาการปวดและอาการรบกวนอื่นๆ ยอมรับภาวะเจ็บป่วยในระยะการดำเนินโรค มีกำลังใจในการใช้ชีวิต ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ

ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 51 ปี มีประวัติโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 20 ปี และ3 ปีก่อนตรวจพบมะเร็งที่โพรงจมูกรักษาโดยการฉายแสง 7 ครั้งหยุดการรักษาเองเลือกการรักษาแพทย์ทางเลือกสมุนไพรมาโรงพยาบาลด้วย มีแผลเรื้อรังที่คอข้างซ้ายมีเลือดออกมาก แรกรับที่อุบัติเหตุและฉุกเฉิน E4V5M6 แผลที่คอมีเลือดออก ความดันโลหิต 93/57 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 110 ครั้งต่อนาที หายใจเหนื่อยอัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายร่วมกับภาวะช็อก รับเข้านอนพักรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยซึมลงอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้  ปรึกษา ทีมการดูแลประคับประคองร่วมกับผู้ป่วยและญาติถึงการวางแผนการรักษาล่วงหน้า สามารถตัดสินใจเลือกการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิตด้วยตนเองร่วมกับญาติ ไม่ต้องการ การใส่ท่อช่วยหายใจและการช่วยฟื้นคืนชีพ

ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วย จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวโรคพยาธิสภาพ การรักษาและการจัดการ อาการรบกวน ให้การพยาบาลแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการวางแผนการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปบ้านและชุมชนทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสภาวะการเจ็บป่วยส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองคือ การตายดี (good  death) ซึ่งสามารถนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยรายอื่นลำดับต่อไป

References

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2565.

วราภรณ์ คงสุวรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิตที่ใช้เทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2559.

นภา ทวียรรยงกุล, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์. ประสบการณ์อาการและการจัดการในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2558; 21(1): 82-95

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018. กรุงเทพฯ: 2564.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสิงห์บุรี..สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิงห์บุรีประจำปี 2563 -2565 โรงพยาบาลสิงห์บุรี.

Alasousi, M., Shuaib, A., & Aljasmi, M. Bowel injury post liposuction: Case report. Journal of Surgical Research. 2020; 2(1):1-3.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2024