การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ด้วยการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย
คำสำคัญ:
การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การผ่าตัดปลูกถ่ายไต, วิสัญญีพยาบาลบทคัดย่อ
การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นทางเลือกการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทำให้ผู้ที่ได้รับการรักษามีอัตราการรอดชีวิตและคุณภาพชีวิตดีขึ้น การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตด้วยการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายระบบ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะซีด จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด วิสัญญีพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ต้องมีการเยี่ยมประเมินผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ มีการประเมินความเสี่ยงจากภาวะสุขภาพ วางแผนในการดูแลให้ยาระงับความรู้สึกร่วมกับวิสัญญีแพทย์ ติดตามเฝ้าระวัง รวมถึงจัดการความปวดหลังผ่าตัด วิสัญญีพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และความสามารถในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จึงได้ทำการศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายไต 1 ราย
ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายไทยอายุ 23 ปี เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมา 3 ปี รักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ใช้วิธีระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกสัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ หลังให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยปลอดภัย ไม่พบภาวะแทรกซ้อน ปัสสาวะออกดี มีอาการปวดแผล และความดันโลหิตสูงขณะอยู่ที่หอผู้ป่วย หลังได้รับการดูแลรักษาจนปลอดภัย สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ปัสสาวะได้เอง ทบทวนความรู้ก่อนกลับบ้านเรื่องการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การรับประทานยากดภูมิและพบแพทย์ตามนัด รวมรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี 16 วัน
จากกรณีศึกษานี้ใช้เป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตด้วยการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย
References
International Society of Nephrology. KDIGO clinical practice guideline for the diagnosis evaluation prevention and treatment of Chronic Kidney Disease-Mineral and Bone Disorder (CKD-MBD). Kidney International. [Retrieved September 19 October, 2019] Available from : http://www. nephrology.kiev.ua/docs/kdigo2018.pdf.
พงศธร คชเสนี. การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/upload/2020/08/การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน.pdf.
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. Transplantation Care ครั้งที่ 3 แนวทางการประเมินผู้รับบริจาคไต (Kidney Transplantation Candidate/Recipient) เพื่อรอรับการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: ปริ้นท์แอนด์มอร์; 2563.
คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไต (TRT) สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย. Annual Report Thailand Renal Replacement Therapy 2020; กรุงเทพฯ: 2563:8.
แผนกห้องผ่าตัดโรงพยาบาลชลบุรี. รายงานการผ่าตัดปลูกถ่ายไต 2540-2566. ชลบุรี: 2566.
พิมพ์ชณก จันท์โชติกุล. วิธีดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้องหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ผ่าตัดปลูกถ่ายไต/
ศุภดีวัน พิทักษ์แทน. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดปลูกถ่ายไต: กรณีศึกษา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 2562;33(3):589-99.
ศิริพร ยุติธรรม. การพยาบาลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในการทำผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารโดยใช้กล้องผ่านทางหน้าท้อง. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 2563;29(2):15-16.
ภัณฑิลา ชลวิสุทธิ์. การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดตับและไต. ใน: อรลักษณ์ รอดอนันต์, วรินี เล็กประเสริฐ, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์, บรรณาธิการ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2555. น. 216-223.
ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. การดูแลไตและผู้ป่วยโรคไตทางวิสัญญี. ใน: มานี รักษาเกียรติศักดิ์, นรุตน์ เรืองอนุกูล, พรพรรณ เฉลิมกิจพานิชย์, วิริยะ หอมหวล, บรรณาธิการ. วิสัญญีตามสมัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2566. น. 332-341.
ญาณนันท์ รัตนธีรวิเชียร. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation). กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558:11-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว