ประสิทธิผลการกระตุ้นพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลทำความสะอาดช่องปากก่อนนอน ของเด็กก่อนวัยเรียนด้วยการใช้บัญชีทางการของไลน์

ผู้แต่ง

  • สิทธิเดช สุขแสง สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • ธิติพันธุ์ อวนมินทร์ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • อารยา เชียงของ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • เกรียงไกร ทัศนวิภาส ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สุภาวิตา ภคเอกภัทร สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ทฤษฎีสะกิด, แปรงฟันก่อนนอน, บัญชีทางการของไลน์, คราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ศึกษาผลของการแจ้งเตือนผู้ปกครองให้แปรงฟันก่อนนอนให้เด็กอายุ 2-4 ปี ผ่านบัญชีทางการของไลน์ฟันดีตามทฤษฎีสะกิด เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 41 คนได้รับทันตสุขศึกษา และกลุ่มทดลองอีก 41 คน ที่ได้รับทันตสุขศึกษาร่วมกับการแจ้งเตือนแปรงฟัน ผ่านบัญชีทางการของไลน์ฟันดี เวลา 19.00 น.ทุกวัน เก็บข้อมูลจากการตรวจฟันเพื่อประเมินคราบจุลินทรีย์ในช่องปากในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และการพิมพ์ส่งข้อความ“ฟันดี”ผ่านบัญชีทางการของไลน์ฟันดีโดยผู้ปกครองหลังจากแปรงฟันให้เด็กก่อนนอนในกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแปรปรวนสำหรับการวัดซ้ำ และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD

ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มทดลองความถี่ของพฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็กก่อนนอนของผู้ปกครองใน 4 สัปดาห์แรกไม่แตกต่าง โดยมีค่าเฉลี่ย 5.76 – 6.24 วัน แต่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) ในสัปดาห์ที่ 5 และ 6 ที่ค่าเฉลี่ย 4.98 – 5.44 วัน และพบว่าคราบจุลินทรีย์ของเด็กกลุ่มทดลองลดลงในระยะระหว่างการทดลองและหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) เมื่อเทียบกับก่อนทดลอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมคราบจุลินทรีย์ของเด็กคงที่ทุกระยะการวัด

บัญชีทางการของไลน์ฟันดีกระตุ้นพฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กของผู้ปกครองได้ดีที่สุดเพียงช่วง 4 สัปดาห์แรก ซึ่งบ่งชี้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน การแปรงฟันโดยผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญในการลดปริมาณคราบจุลินทรีย์ของเด็ก ผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมด้านสุขภาพทันตกรรมในผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

Sutthavong S, Taebanpakul S, Kuruchitkosol C, Ayudhya TI, Chantveerawong T, Fuangroong S, et al. Oral health status, dental caries risk factors of the children of public kindergarten and schools in Phranakornsriayudhya, Thailand. J Med Assoc Thai. 2010 Nov;93 Suppl 6:S71-8. PMID: 21284137.

Marshman Z, Ahern SM, McEachan RRC, Rogers HJ, Gray-Burrows KA, Day PF. Parents’ experiences of toothbrushing with children: a qualitative study. JDR Clin Transl Res. 2016;1(2):122–130.

Thaler RH, Sunstein CR. Nudge: Improving decisions about health, wealth, and happiness. New Haven, CT: Yale University Press; 2008.

จิรารัตน์ เอมแย้ม และ วุฒิชัย จริยา. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2023; 32(1):96–108.

LINE Official Account [Internet]. Line for business; [cited 2023 Jan 30]. Available from: https://lineforbusiness.com/th/service/line-oa-features.

Sunstein, CR. Nudging: A Very Short Guide. J Consum Policy. 2014;37:583–588. https://doi.org/10.1007/s10603-014-9273-1

Tavakoli G, Falahi A. The Effect of Educating Mothers in Inter-Dental Cleaning Behavior on Their Children’s Dental Health Behavior: Testing the Transtheoretical Model. HEHP. 2013;1(2):5-19. Available from: http://hehp.modares.ac.ir/article-5-11000-en.html

ธิติพันธุ์ อวนมินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพในการดูแลอนามัยช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีดอนตัน อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

Chanpum P, Duangthip D, Trairatvorakul C, Songsiripradubboon S. Early Childhood Caries and Its Associated Factors among 9- to 18-Month Old Exclusively Breastfed Children in Thailand: A Cross-Sectional Study. Int J Environ Res Public Health. 2020;17(9):3194. doi: 10.3390/ijerph17093194.

Greene JC, Vermillion JR. The Simplified Oral Hygiene Index. J Am Dent Assoc. 1964 Jan;68:7-13. http://doi: 10.14219/jada.archive.1964.0034.

กษมา ปทุมสูติ, ปิยะนารถ จาติเกตุ และ อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์. ประสิทธิผลของสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปีในตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่ทันตแพทยสาร. 2561; 39(2): 103-11

ปฐมวัตร จันทรศัพท์ และนัฐพร โรจนหัสดิน. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการการใช้แอพพลิเคชั่น Line ในการสะกิด (nudge) เพื่อให้เกิดการลดการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [Internet]. 2564. Available from: https://cas.or.th/?p=9979.

Marteau TM, Ogilvie D, Roland M, Suhrcke M, Kelly MP. Judging nudging: can nudging improve population health? BMJ. 2011;342:d228. http://doi: 10.1136/bmj.d228.

Loewenstein G, Asch DA, Volpp KG. Behavioral economics holds potential to deliver better results for patients, insurers, and employers. Health Aff (Millwood). 2013;32(7):1244-50. http://doi: 10.1377/hlthaff.2012.1163.

Van der Meiden I, Kok H, Van der Velde G. Nudging physical activity in offices. JFM. 2019;17(4):317-330. http://doi:10.1108/JFM-10-2018-0063.

Hands DW. Libertarian Paternalism: Making Rational Fools. Rev Behav Econ. 2021;8(3-4):305-326. http://doi:10.1561/105.00000144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023