ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คุมไม่ได้ โรงพยาบาลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพติกรรมการควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือด และศึกษาปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ โรงพยาบาลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 130 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากกว่า 7% วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบความถดถอยทางพหุคูณแบบลำดับขั้น
ผลการศึกษาพบว่า ระดับพฤติกรรมการควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือด ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M=59.91, SD=8.87) ผลการวิเคราะห์พบตัวแปรอิสระ 2 ตัว ที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้ร้อยละ 45 (adjust R2 = .452) โดยการรับรู้ประโยชน์การป้องกันและรักษาโรค (=2.933) มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือการรับรู้อุปสรรคของการควบคุมระดับน้ำตาล (= -1.36)
ดังนั้นบุคลากรที่มีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเสริมสร้างการรับรู้ประโยชน์ และการช่วยเหลือผู้ป่วยในการลดอุปสรรคของการควบคุมระดับน้ำตาล เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอันส่งผลให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
References
World Health Organization. WHO Mortality Database 2022 [Internet]. [cited 2023 May 23].Availablefrom: http://apps.who.int/healthinfo/statistics/mortality/causeofdeath_query
Whiting DR, Guariguata L, Weil C, Shaw J. IDF diabetes atlas: global estimates of the prevalence of diabetes for 2011 and 2030. Diabetes Res Clin Pract. 2022; 94(3):311-321.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของสำนักโรคไม่ติดต่อจำนวนและอันตรายโรคไม่ติดต่อประจำปี. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้ จาก: https://bit.ly/2uWWfRN.
ฝ่ายวิจัยโรงพยาบาลค่ายบางระจัน. สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2565. สิงห์บุรี: โรงพยาบาลค่ายบางระจัน.
International diabetes federation. Diabetes Atlas 2022 [Internet]. [cited 2023 May 23]. Available from: https://www.idf.org/ aboutdiabetes/what-is-diabetes.html.
Cradock KA, ÓLaighin G, Finucane FM, Gainforth HL, Quinlan LR, Ginis KA. Behaviour change techniques targeting both diet and physical activity in type 2 diabetes: A systematic review and meta-analysis. Int J Behav Nutr Phys Act. 2017 Feb 8;14(1):18. doi: 10.1186/s12966-016-0436-0. PMID: 28178985; PMCID: PMC5299734.
American Diabetes Association. Standard of Medical Care in Diabetes 2022. The Journal of Clinical and Applied Research and Education.2022; 42(1), 13-61.
Lakerveld J, Palmeira AL, van Duinkerken E, Whitelock V, Peyrot M, Nouwen A. Motivation: key to a healthy lifestyle in people with diabetes? Current and emerging knowledge and applications. Diabet Med. 2020 Mar;37(3):464-472. doi: 10.1111/dme.14228. Epub 2020 Jan 20. PMID: 31916283.
Liu Y, Ye W, Chen Q, Zhang Y, Kuo CH, Korivi M. Resistance Exercise Intensity is Correlated with Attenuation of HbA1c and Insulin in Patients with Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-Analysis. Int J Environ Res Public Health. 2019 Jan 7;16(1):140. doi: 10.3390/ ijerph16010140. PMID: 30621076; PMCID: PMC6339182.
Huo R, Du T, Xu Y, Xu W, Chen X, Sun K, Yu X. Effects of Mediterranean-style diet on glycemic control, weight loss and cardiovascular risk factors among type 2 diabetes individuals: a meta-analysis. Eur J Clin Nutr. 2015 Nov;69(11):1200-8. doi: 10.1038/ejcn.2014.243. Epub 2014 Nov 5. PMID: 25369829.
Becker MH, Maiman LA. Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Med Care. 1975 Jan;13(1):10-24. doi: 10.1097/00005650-197501000-00002. PMID: 1089182.
ดวงหทัย แสงสว่าง อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และนิลาวรรณ งามขำ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2561; 18(1):103-117.
ชวนพิศ สุนทรศารทูล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา.2564;6(1):9-20.
วินัฐ ดวงแสนจันทร์ ตะวัน แสงสุวรรณ และ พุทธิพงษ์ พลคำฮัก.การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9.2564;15(38):428-442.
ศศิวรรณ ขันทะชา, เบญจา มุกตพันธุ์. ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดูแลตนเองและความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวานกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายเชื้อชาติ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(1):97-104.
สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. ความเชื่อทางด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก. 2562;5(1):55-68.
Tang TS, Brown MB, Funnell MM, Anderson RM. Social support, quality of life, and self-care behaviors among African Americans with type 2 diabetes. Diabetes Educ. 2008 Mar-Apr;34(2):266-76. doi: 10.1177/0145721 708315680. PMID: 18375 776.
วิทยา เลิกสายเพ็ง.ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2564;2(1):1-10.
สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง ปัทมา สุพรรณกุล และ จารุณีย์ เงินแจ้ง.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(4):628-638.
วิสุทธิ์โนจิตต์ สุทิศาสงวนสัจ สุวัฒนาเกิดเมือง ศุภสิริ สุขสม บุษยาดำคำ และจันทิมา นวะมะวัฒนุ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏกาญจนบุรี. 2562;8(2):207–212.
Sarkar U, Fisher L, Schillinger D. Is self-efficacy associated with diabetes self-management across race/ethnicity and health literacy? Diabetes Care. 2006 Apr;29(4):823-9. http//: doi: 10.2337/ diacare.29.04.06.dc05-1615. PMID: 16567822.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(3): 515–522.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว