อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
คำสำคัญ:
โรคตับแข็ง, มะเร็งตับ , ไวรัสตับอักเสบบีบทคัดย่อ
โรคตับแข็งเป็นโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มการเกิดโรคและการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น สาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยคือ มะเร็งตับ ดังนั้นจึงต้องการศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยโรคตับแข็ง เพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาต่อไป โดยศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยโรคตับแข็ง มกราคม 2564 - ธันวาคม 2565 จำนวน 200 คน เก็บลักษณะพื้นฐาน อาการแสดง ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อน นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติโดยใช้ Chi-square และ logistic regression analysis
ผู้ป่วยโรคตับแข็ง 200 คน พบว่าเกิดมะเร็งตับ 76 คน (38%) เป็นเพศชาย 127 คน (63.5%) อายุเฉลี่ย 60.1±11.2 ปี พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ ได้แก่ เพศชาย (aOR, 2.68; 95%CI= 1.06-5.34; P=0.04) กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี (aOR, 3.89; 95%CI= 1.1-3.34; P=0.02) โรคตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบี (aOR, 3.11; 95%CI= 1.31-7.46; P<0.001) อาการคลำได้ก้อนในตับ (aOR, 2.1; 95%CI= 1.18-6.24; P=0.04) การรักษาโดยอายุรแพทย์ทั่วไป (aOR, 2.17; 95%CI= 1.12-14.83; P=0.04) รักษาแบบประคับประคอง (aOR, 3.82; 95%CI= 1.73-12.52; P<0.001) ไม่ได้รับการคัดกรองมะเร็งตับ (aOR, 3.82; 95%CI= 1.61-9.2; P=0.01) และปัจจัยที่ลดการเกิดมะเร็งตับ คือ การรักษาโดยอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคทางเดินอาหาร (aOR, 0.02; 95%CI= 0.01-0.06; P<0.001)
อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งใกล้เคียงกับโรงพยาบาลอื่น โดยพบว่าเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี โรคตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบี ได้รับการดูแลโดยอายุรแพทย์ รักษาแบบประคับประคองและไม่ได้รับการคัดกรองมะเร็งตับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังและให้การรักษาที่เหมาะสม
References
National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney diseases. Cirrhosis. [Internet]. 2018. [cited 2019 Dec 5]. เข้าถึงได้จาก : https://www.niddk.nih.gov/health-information/liver-disease/cirrhosis.
Kanit Bunnag, Dhanusorn Wanichagool, and Sakkarin Chirapongsathorn. Quality of Care for Patients with Cirrhosis and Treatment Outcomes in PhraNakhon Si Ayutthaya Hospital.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.2564;11(2):370-387.
McPhail SM. Multimorbidity in chronic disease: impact on health care resources and costs. Risk Manag Healthc Policy 2016;9: 143-156.
Chirapongsathorn S, Poovorawan K, Soonthornworasiri N, Panngum W, Phaosawasdi K, Treeprasertsuk S. Thirty-day readmission and cost analysis in patients with cirrhosis: a nationwide population-based data. Hepatol Commun 2020;4: 453-60.
สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย; 2564.
Chaiteerakij, Roongruedee, et al. Surveillance for hepatocellular carcinoma reduces mortality: an inverse probability of treatment weighted analysis. Annals of hepatology 2017;16(3).: 421-429.
Chirapongsathorn Sakkarin, et al. "Thirty‐day readmission and cost analysis in patients with cirrhosis: a nationwide population‐based data. Hepatology Communications 2020;4(3): 453-460.
Nimanong Supot, Lukana Preechasuk, and Tawesak Tanwandee. "Incidence and Characteristic of Hepatocellular Carcinoma in Hepatitis B Related Cirrhosis." JOURNAL OF THE MEDICAL ASSOCIATION OF THAILAND 2020; 103(12):128-133.
Supattra Ruangsawat, Pratum Soivong, and Benjamas Suksatit. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การจัดการตนเองในผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง. Journal of Health and Nursing Research. 2020; 36(3): 123-134.
Scaglione S, Kliethermes S, Cao G, Shoham D, Durazo R, Luke A, et al. The epidemiology of cirrhosis in the United States: a population-based study. J Clin Gastroenterol 2015;49:690-6.
Goldberg DS, Taddei TH, Serper M, Mehta R, Dieperink E, Aytaman A, et al. Identifying barriers to hepatocellular carcinoma surveillance in a national sample of patients with cirrhosis. Hepatology 2017;65:864-74.
Singal AG, Tiro J, Li X, Adams-Huet B, Chubak J. Hepatocellular carcinoma surveillance among patients with cirrhosis in a population-based integrated health care delivery system. J Clin Gastroenterol 2017;51: 650-55.
Bunnag Kanit, et al. "IDDF2019-ABS-0076 Quality of care and cost analysis for cirrhosis management in a large university-based hospital in thailand." 2019; A128-A128.
Yang, Ming, et al. "Incidence and risk factors of hepatocellular carcinoma in patients with hepatitis C in China and the United States." Scientific reports. 2020;10(1): 1-10.
Bunnag Kanit, et al. "IDDF2019-ABS-0076 Quality of care and cost analysis for cirrhosis management in a large university-based hospital in thailand." (2019): A128-A128.
McPhail SM. Multimorbidity in chronic disease: impact on health care resources and costs. Risk Manag Healthc Policy 2016;9: 143-156.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว