ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยเบาหวานในผู้ใหญ่ชนิดที่พบแอนติบอดี้ต่อเซลล์ ของตับอ่อน ในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง ≥ 10% ในคลินิกต่อมไร้ท่อ

ผู้แต่ง

  • รุ่งไพลิน บูรณากาญจน์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, เบาหวานในผู้ใหญ่ชนิดที่พบแอนติบอดี้ต่อเซลล์ของตับอ่อน, แอนติบอดี้ต่อเซลล์ของตับอ่อน

บทคัดย่อ

เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยเบาหวานในผู้ใหญ่ชนิดที่พบแอนติบอดี้ต่อเซลล์ของตับอ่อน (Latent Autoimmune Diabetes in Adults) ในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง ≥ 10% ในคลินิกต่อมไร้ท่อ เป็นการศึกษา Cross-sectional study รวมข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการตรวจในคลินิกต่อมไร้ท่อ ที่มีน้ำตาลสะสม (HbA1c) มากกว่า 10% ในช่วงระยะเวลา 2 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วย PASW Statistic (SPSS) 18.0 บรรยายสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดียวและวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการตรวจในคลินิกต่อมไร้ท่อ ที่เข้าเกณฑ์คัดเข้า มีจำนวนทั้งสิ้น 62 ราย พบว่าเป็นเบาหวานในผู้ใหญ่ชนิดที่พบแอนติบอดี้ต่อเซลล์ของตับอ่อน(LADA) 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 24 เปรียบเทียบปัจจัยระหว่างกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 และ LADA พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติ (P-value < 0.05) ได้แก่ ประวัติโรคภูมิคุ้มกันตนเอง พบใน LADA ร้อยละ 33 และ T2DM ร้อยละ 4 (P = 0.016) ระดับซีเปบไทด์ ใน LADA = 0.03 และ T2DM = 0.35 มิลลิโมล/ลิตร (P = 0.003) และประวัติการใช้ยา sulfonylurea ร้อยละ 44 ใน T2DM และ ร้อยละ 13.3 ใน LADA (P = 0.029) และ LADA มีอาการน้ำตาลสูงมากเมื่อวินิจฉัย ร้อยละ 86 มากกว่ากลุ่ม T2DM ร้อยละ 59 (P = 0.054)  เมื่อนำตัวแปรที่มีค่า p-value<0.2 มาทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก พบว่า มี 3 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับ LADA ได้แก่ ประวัติโรคภูมิคุ้มกันตนเอง OR = 8.91, 95% CI = 1.30-61.35, p = 0.026 ระดับซีเปบไทด์ OR = 0.10, 95% CI = 0.10-0.96, p = 0.046 และ ระดับน้ำตาลเมื่ออดอาหาร OR = 0.99, 95% CI = 0.98-1.00, p = 0.053 แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05)

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการตรวจในคลินิกต่อมไร้ท่อ ที่มีน้ำตาลสะสม (HbA1c) มากกว่า 10% พบว่า มี 2 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับ LADA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ประวัติโรคภูมิคุ้มกัน ระดับซีเปบไทด์ที่ต่ำ ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อส่งตรวจแอนติบอดี้ วินิจฉัยยืนยัน LADA ต่อไป ลดค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจ และทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมในรายที่ผลวินิจฉัย LADA

References

Federation ID. IDF Diabetes Atlas. 6th edition 2014.

วิชัย เอกพลากร, (บก.), รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557.

American Diabetes Association Professional Practice Committee. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2022. Diabetes Care. 2022 Jan 1;45(Suppl 1):S17-S38.

Pozzilli P, Pieralice S. Latent Autoimmune Diabetes in Adults: Current Status and New Horizons. Endocrinol Metab (Seoul). 2018 ; 33(2):147-159.

ณัฐเชษฐ์ เปล่งวิทยา. (2558). What type of diabetes: Type 1, Type 2 or Other Type?. ใน ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์(บ.ก.), โรคต่อมไร้ท่อในเวชปฏิบัติ 2558 (น. 1-11). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรือนแก้วการพิมพ์.

Buzzetti R, Tuomi T, Mauricio D, Pietropaolo M, Zhou Z, Pozzilli P, et al; Management of Latent Autoimmune Diabetes in Adults: A Consensus Statement From an International Expert Panel. Diabetes. 2020 Oct;69(10):2037-2047.

Ludvigsson J, Sumnik Z, Pelikanova T, Chavez L, Lundberg E, Rica I, et al; Intralymphatic Glutamic Acid Decarboxylase With Vitamin D Supplementation in Recent-Onset Type 1 Diabetes: A Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled Phase IIb Trial. Diabetes Care 1 July 2021; 44 (7): 1604–1612.

Manisha AM, Shangali AR, Mfinanga SG, Mbugi EV. Prevalence and factors associated with latent autoimmune diabetes in adults (LADA): a cross-sectional study. BMC Endocr Disord. 2022 Jul 8;22(1):175.

Al-Zubairi T, Al-Habori M, Saif-Ali R. Latent Autoimmune Diabetes in Adults (LADA) and its Metabolic Characteristics among Yemeni Type 2 Diabetes Mellitus Patients. Diabetes Metab Syndr Obes. 2021 Oct 13;14:4223-4232.

Monge L, Bruno G, Pinach S, Grassi G, Maghenzani G, Dani F, Pagano G. A clinically orientated approach increases the efficiency of screening for latent autoimmune diabetes in adults (LADA) in a large clinic-based cohort of patients with diabetes onset over 50 years, Diabet. Med. 21 (May (5)) (2004) 456–459.

Fourlanos S, Perry C, Stein MS, Stankovich J, Harrison LC, Colman PG; A Clinical Screening Tool Identifies Autoimmune Diabetes in Adults. Diabetes Care. 2006; 29 (5): 970–975

Li L, Liu S, Yu J. Autoimmune thyroid disease and type 1 diabetes mellitus: same pathogenesis; new perspective? Ther Adv Endocrinol Metab. 2020 Sep 14;11

Holt RI, DeVries JH, Hess-Fischl A, Hirsch IB, Kirkman MS, Klupa T, et al; The Management of Type 1 Diabetes in Adults. A Consensus Report by the American Diabetes Association (ADA) and the European Association for the Study of Diabetes (EASD). Diabetes Care 1 November 2021; 44 (11): 2589–262.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-10-2023