การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกรดแลคติกเกินจากยา metformin ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ภาวะกรดแลคติกเกินจากยา metformin, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบทคัดย่อ
บทนำ: Metformin-Associated Lactic Acidosis (MALA); ภาวะกรดแลคติกเกินจากยา metformin เป็นภาวะฉุกเฉินที่คุกคามต่อชีวิตเนื่องจาก Metforminทำให้เกิดการคั่งของกรดแลคติกในร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ การสร้าง lactate เพิ่มขึ้นจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) ภาวะเลือดไหลไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง (reduced tissue perfusion) ภาวะขาดออกซิเจน (anoxia) หรือสภาวะที่มีการขจัด lactate ออกได้ลดลง การรักษาเพื่อกำจัดกรดแลคติกที่เกินออก คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการรักษาปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุ
วิธีการศึกษา: ศึกษาจากผู้ป่วย ที่มีภาวะ metformin-associated lactic acidosis ที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักร่วมกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 1 รายโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวทางสำคัญในการศึกษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงอายุ58 ปีเป็นเบาหวานชนิดที่ 2ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น metformin-associated lactic acidosis ร่วมกับภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Failure) ได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาลจนย้ายออกจากหอผู้ป่วยหนักและจำหน่ายกลับบ้านได้ รวมระยะเวลาอยู่โรงพยาบาล 5 วัน
บทสรุป: ผู้ป่วยภาวะกรดแลคติกเกินจากยา metformin ควรได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างรวดเร็ว จะช่วยกำจัดกรดแลคติกที่เกินออกและลดภาวะเลือดเป็นกรด ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ พยาบาลไตเทียมจึงต้องมีความรู้ ความชำนาญในการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลเพื่อให้การฟอกเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งระหว่างการฟอกเลือดและหลังการฟอกเลือด
References
Nataliia D, Natasha V.T., Lakshmi K, Riley N, Brandon K. W. Metformin Associated Lactic Acidosis (MALA). National Library of Medicine. 2022. (เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2565). เข้าถึงได้จาก: ttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK580485/
DeFronzo R, Fleming GA, Chenc K, Bicsak TA. Metformin-associated lactic acidosis: Current perspectives on causes and risk. Metab Clin Exp. 2016; 65:20-9.
Eppenga WL, Lalmohamed A, Geerts AF, Derijks HJ, Wensing M, Egberts A, et al. Risk of lactic acidosis or elevated lactate concentrations in metformin users with renal impairment: A population-based cohort study. Diabetes Care. 2014; 37:2218–24.
Keisuke N, Naoki H, Kent D, Toshifumi A, Yoshihiro U et al. Early Initiation of Hemodialysis for Progressive Lactic Acidosis in a Diabetic Patient. Rep Acute Med (2019) 1 (1-3): 17–20. CASE REPORT. (เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2565). เข้าถึงได้จาก:https://doi.org/10.1159/000495198
Kanin T, Boonchan P, Watanyu P, Laddaporn W, Watthikorn P, Jirut S. Metformin-associated lactic acidosis and factors associated with 30-day mortality. (เข้าถึงเมื่อ 11 เมษายน 2565). เข้าถึงได้จาก: doi: 10.1371/journal.pone. 0273678. eCollection 2022.
คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไตพ.ศ. 2561.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา. 2561:1-48.
วิกาวี รัศมีธรรม. การศึกษาการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากแลคติกคั่งจากยาเมทฟอร์มิน โดยใช้ข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.
รจนา จักรเมธากุล.บทความฟื้นวิชาการ: ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกินซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มินวารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561; 8(1): 147-151.
ชัชวาล วงค์สารีและอรนันท์ หาญยุทธ การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมวารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6 (2): 220-233.
วันทนี อภิชนาพงศ์. บทความรายงานผู้ป่วย (Case Report)กรณีศึกษา metformin-associated lactic acidosis.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 30(1); 2020: 26-33.
รัตนา นิลเลื่อม, ดวงกมล วัตราดุลย์, พรทิพย์สินประเสริฐ, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ, ธิดารัตน์ขาวเงินยวง,และอรทัย บุญชูวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจําหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลราชบุรีจังหวัดราชบุรี.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564; 32 (2): 203-215.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว