ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีพุทธ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, การแพทย์วิถีพุทธ, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
บทนำ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีพุทธในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการปฏิบัติตนด้วยการแพทย์วิถีพุทธ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบที ชนิดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษา: จากการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนด้วยการแพทย์วิถีพุทธ ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ หลังการทดลอง (= 19.70) สูงกว่าก่อนการทดลอง (= 13.70) และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง (= 108.0) ลดลงจากก่อนการทดลอง (= 114.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p–value < 0.05
สรุป: การศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำผลที่ได้ไปวางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานให้มีพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
References
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 8th ed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation; 2017.
กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. พิมพค์รั้งที่ 1. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs). พิมพค์รั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ; 2562.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.
ภัสราภรณ์ ทองภูธรณ์, สุวลี โล่วิรกรณ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; 13(1): 22-32.
ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี, พรพิมล ชัยสา, อัศนีวันชัย, ชลธิมา ปิ่นสกุล. การออกกำลังกาย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 2561; 19(2): 39-48.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพศาลี. สรุปผลงานตามตัวชี้วัด ปี 2560. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพศาลี.; 2560.
ใจเพชร กล้าจน. ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง [วิทยานิพนธ์]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553.
พัชรี มณีไพโรจน์. การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยหลัก 4อ. 1ก ตามแนวคิด แพทย์ทางเลือกวิถีธรรม (ท่าไคร้โมเดล). วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 614-622.
ลักขณา แซ่โซ้ว, พูนชัย ปันธิยะ, วรางคณา ไตรยสุทธิ์. วิเคราะห์ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน. วารสารปรัชญาอาศรม 2565; 4(1): 47-61.
พรทิพย์ ปุกหุต, ทิตยา พุฒิคามิน. ผลของการสวดมนต์บำบัดต่อความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะรับการรักษา. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ 2555; 30(2): 122-130.
ใจเพชร กล้าจน. ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2554; 4(1): 25-37.
แสงสิทธิ์ กฤษฎี. เบาหวาน (มธุเมโห) ตามหลักการแพทย์แผนไทย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร; มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2558.
สิรญา ธาสถาน, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, ใจเพชร กล้าจน. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองที่ประยุกต์การแพทย์วิถีพุทธต่อพฤติกรรมดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10 (1): 117-128.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว