บทบาทของวิสัญญีพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริจาคไตผ่านกล้อง ที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย

ผู้แต่ง

  • จันทิรา ประยูรชาญ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

บทบาท, วิสัญญีพยาบาล, การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การผ่าตัดบริจาคไตผ่านกล้อง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้องเป็นเทคนิคที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการผ่าตัดบริจาคไตโดยผู้บริจาคที่มีชีวิต (living kidney donor) เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ต่อมา Ratner และคณะได้ริเริ่มการทำผ่าตัดบริจาคไตด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องสำเร็จเป็นครั้งแรก และมีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องกับการผ่าตัดแบบเปิดแผลทางหน้าท้องในผู้ที่มารับการผ่าตัดบริจาคไต พบว่าเทคนิคการผ่าตัดไตผ่านกล้องจะมีความปวดภายหลังการผ่าตัดน้อยกว่า จำนวนวันที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลน้อยลง และสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วขึ้น

จากข้อมูลสถิติของโรงพยาบาลรามาธิบดีย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) มีการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (kidney transplantation) ทั้งหมด 916 ราย โดยเป็นการผ่าตัดบริจาคไตโดยผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตจำนวน 217 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 ของการผ่าตัดปลูกถ่ายไตทั้งหมด ซึ่งใช้เทคนิคการผ่าตัดไตผ่านกล้องจำนวน 106 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะโรงพยาบาลรามาธิบดี) ดังนั้น ผู้บริจาคไตที่ยังมีชีวิตมีแนวโน้มจะได้รับการผ่าตัดด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบผ่านกล้องมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ดังนั้น การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย สำหรับการผ่าตัดบริจาคไตแบบผ่านกล้องในผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตจึงมีความสำคัญในกระบวนการวางแผนและดูแลในระยะก่อน ระหว่างและหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย (perioperative care ) ในบทบาทวิสัญญีพยาบาล ต้องเยี่ยมประเมินผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนในการดูแลให้ยาระงับความรู้สึกร่วมกับวิสัญญีแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระหว่าง และหลังการระงับความรู้สึก เนื่องด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบผ่านกล้องอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของอวัยวะที่สำคัญหลายระบบ จำเป็นต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างและหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย วิสัญญีพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับวิสัญญีแพทย์เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดและการระงับความรู้สึกด้วยความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติและรวดเร็ว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทที่สำคัญของวิสัญญีพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย สำหรับการผ่าตัดบริจาคไตผ่านกล้อง และเพื่อเป็นการพัฒนาแนวทางในการให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

References

PrimpraphaKonkaew.Suphunnakul P. Risk Behaviors of Chronic Kidney Disease: Perspectives of Patients with Chronic Kidney Disease. Thai Journal of Public Health 2019; 49:313-7.(in Thai)

Yuan H, Liu L, Zheng S, Yang L, Pu C, Wei Q, et al. The safety and efficacy of laparoscopic donor nephrectomy for renal transplantation: an updated meta-analysis. Transplant Proc. 2013;45(1):65-76.

Thuret R, Timsit MO, Kleinclauss F. [Chronic kidney disease and kidney transplantation]. Prog Urol. 2016;26(15):882-908.

kidvikai K. Nephrectomy in laparoscopic donor.Kidvikai k,editor.Ramathibodi book project faculty of medicine ramathibodi hospital mahidol university:Idea instant printin.2561;416 p.(in Thai)

Ratner LE, Ciseck LJ, Moore RG, Cigarroa FG, Kaufman HS, Kavoussi LR. Laparoscopic live donor nephrectomy. Transplantation. 1995;60(9):1047-9.

Abramyan S, Hanlon M. Kidney Transplantation. StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing Copyright © 2022, StatPearls Publishing LLC.; 2022.

Minnee RC, Idu MM. Laparoscopic donor nephrectomy. Neth J Med. 2010;68(5):199-206.

Cadeddu JA, Ratner L, Kavoussi LR. Laparoscopic donor nephrectomy. Semin Laparosc Surg. 2000;7(3):195-9.

Notake T, Shimizu A, Kubota K, Sugenoya S, Hosoda K, Hayashi H, et al. Right Kidney Position for Laparoscopic Liver Resection of Tumors Located in the Posterosuperior Region. Surg Laparosc Endosc Percutan Tech. 2022;32(5):621-6.

Leutrakul P.Dose the anesthesiologist have a landsape or not.Ornluck R,Rodanan H,Narut R,khamjit P, editor: P.L.Living; 2564. 64-88 p. (in Thai)

Tamayo Enriquez G, et al. The Right Renal Vein Extension: Technical Review. Int J Transplant & Plastic Surg 2019, 3(S1): 1-4p.

อรลักษณ์ รอดอนันต์.การระงับความรู้สึกในการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง. ใน:เบญจรัตน์ หยก,นรุตม์ เรือน,งามจิตร์ ภัทร.editor:วิสัญญีมีภูมิหรือยัง.พิมพ์ครั้งที่1กรุงเทพฯ;พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.2564.111-147 p.

Duangngin P.The role of nurse anesthetists in caring for patients underoing roboic prostatectomy.Singburi hospital journal.2561;27:29-38 p. (in Thai)

Duangchan J.Communication to pass on nursinginformation by SBAR technique.Nursing science jurnal siam university.2563;21:91-103 p.(in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2023