การพัฒนาระบบบริการพยาบาลใน Acute Respiratory Infection (ARI) Clinic เพื่อการควบคุมโรคโควิด-19 โรงพยาบาลพิจิตร

ผู้แต่ง

  • วิภาพร เลาวกุล พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพิจิตร
  • จารุภา คงรส นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลพิจิตร
  • ทรรศน์รมย์ ศรีนรคุตร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพิจิตร

คำสำคัญ:

ระบบบริการพยาบาล , คลินิกตรวจโรคระบบทางเดินหายใจ , โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการออกแบบการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นใน Acute Respiratory Infection (ARI) Clinic (คลินิกตรวจโรคระบบทางเดินหายใจ) เพื่อการควบคุมโรคโควิด-19 ดำเนินการวิจัยตั้งแต่กรกฎาคม 2564 ถึง มิถุนายน 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบ ศึกษาและประเมินผลลัพธ์การจัดบริการพยาบาล ARI Clinic กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการ 20 คนและกลุ่มผู้มารับบริการ 5 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาและประเมินผลลัพธ์คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ใน ARI clinic จำนวน 46 คนและผู้มารับบริการที่ ARI clinic จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แนวทางสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยใช้กรอบแนวคิด CIPP Model ตรวจสอบประเด็นสัมภาษณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ไม่มีแก้ไข 2. แบบสอบถามความสุข ความพึงพอใจ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน ARI Clinic 3. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับจาก ARI Clinic และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 นำเครื่องมือ 2, 3 ไปทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82, 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดย Content Analysis และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ พบประเด็น Context Evaluation เรื่องสถานที่คับแคบ แออัด ร้อน Input Evaluation เรื่อง ขาดแคลนบุคลากรพยาบาล อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้มีไม่เพียงพอ ระบบบริการพยาบาลมีการปรับทุกวัน Process Evaluation เรื่อง การบริหารจัดการและขั้นตอนการให้บริการใช้เวลานาน Product Evaluation เรื่องขวัญกำลังใจ ภาระงานของผู้ปฏิบัติงาน ความวิตกกังวลและการจัดการตนเองของผู้รับบริการ การพัฒนาระบบบริการพยาบาล ใน ARI Clinic ดำเนินการพัฒนาในเรื่องสถานที่ รูปแบบการให้บริการ การคัดกรองคัดแยก วินิจฉัย รักษาส่งต่อ การศึกษาความสุข ความพึงพอใจ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน ARI Clinic พบว่า ส่วนมากมีระดับความความสุข ความพึงพอใจ ความปลอดภัย ที่ระดับมาก การศึกษาความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับจาก ARI Clinicและความสามารถในการดูแลตนเองของผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19  พบว่าส่วนมากมีความพึงพอใจของต่อบริการที่ได้รับจาก ARI Clinic ที่ระดับมากที่สุด และมีระดับความสามารถในการดูแลตนเองต่อการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ระดับดีมาก สรุปผลการวิจัยการพัฒนาระบบบริการพยาบาลใน ARI Clinic เพื่อการควบคุมโรคโควิด-19 มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลพิจิตร สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง ทำให้ผู้รับบริการเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลได้รวดเร็วที่สุด และบุคลากรไม่ติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ARI Clinic

References

World Health Organization Thailand (2020). การทบทวนร่วมการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย 20-24 กรกฎาคม 2563. https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/iar-covid19-th.pdf

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report– 67 https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation reports/20200327-sitrep-67-covid-19.pdf?sfvrsn=b65f68eb_4.

ราชกิจจานุเบกษา. 2563. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕๔๘ เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง. ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563. Available from; http://www.dent.chula.ac.th/upload/images2/List%20of%20diseases% 0that%20wish%20to%20be%20controlled%20section%2018%20[2561].PDF.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส%202019.pdf.สรุปสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย [Internet]. 2563 [cited 2021 January 21]. Available from: https://udch.go.th/uploads/doc/covid-19/บทความ%20.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดระบบบริการของโรงพยาบาลกรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563. [Internet]. 2563 [cited 2020 March 25]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/guidelines/G33.pdf.

Kazzaz YM, Alkhalaf H, Alharbi M, Al Shaalan M, Almuneef M, Alshehri A, Alali H, AlHarbi T, Alzughaibi N, Alatassi A, Mahmoud AH. Hospital preparedness and management of pediatric population during COVID-19 outbreak. Annals of Thoracic Medicine. 2020 Jul;15(3):107.

Lim RHF , Htun HL, Li AL, Guo H, Kyaw WM, Hein AA, Ang B, Chow A.มาตรการของโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจายของ COVID-19 ในโรงพยาบาล.โรคติดเชื้อ Int J 2022 เม.ย.; 117: 139-145. ดอย:10.1016/j.ijid.2022.01.069. Epub 2022 4 ก.พ.

ประภา ราชา, จารุภา คงรส, ธนพร สดชื่น. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์ เขต 4-5. 2563; 39(3):414-26.

โรงพยาบาลพิจิตร. รายงานประจำปี 2563 สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร. 2563.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong: Australia: Deakin University Press; 1987.

Stufflebeam DL. The CIPP model for evaluation in national conference on educational research 17-18 January 2008. Phitsanulok : Faculty of Education, Naresuan University; 2008.

บัวหลวง สำแดงฤทธิ์, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, นพวรรณ พินิจขจรเดช, ชู้หงส์ ดีเสมอ, แสงเดือน ปิยะตระกูล และคณะ. โครงการการประเมินผลการจัด Acute Respiratory Infection (ARI) Clinics เพื่อการดำเนินงานตรวจรักษาและควบคุมโรคโควิด-19 โรงพยาบาลรามาธิบดี.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: 2565.

วราภรณ์ สมดี. การพัฒนาแนวทางการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2564;19(2):68-79.

สัจจาภรณ์ ขันธุปัฏน์และคณะ. ศึกษาการพัฒนาความปกติใหม่ของคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจในระยะ Active Phase ต่อความปลอดภัย.วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.2563;3(3): 199-209.

สุธารัตน์ แลพวง. ศึกษาการบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคไวรัส COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี.วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.2564;11(3):486-495.

จรัส รัชกุล, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, พุฒิปัญญา เรืองสม, จีรวรรณ หัสโรค์, โศภิสุดา วิบูลย์พันธุ์. โครงการการประเมินการปฏิบัติตนของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: 2564.

อรัญญา นามวงศ์และคณะวัชรีไชยจันดี.การตีตราทางสังคมต่อผู้ที่อาจติดเชื้อหรือติดเชื้อ COVID-19และผลกระทบ: การศึกษาเชิงคุณภาพ.วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ ,JNHR Volume 23, Issue 1, Jan-Apr, 2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023