การศึกษาการเกิดภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิปิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
คำสำคัญ:
ภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ, นอร์อิปิเนฟรินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิปิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลายในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักที่ได้รับยานอร์อิปิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย จำนวน 270 ราย ซึ่งมีบริเวณที่ได้รับการแทงเข็มที่หลอดเลือดดำส่วนปลาย เพื่อให้ยานอร์อิปิเนฟริน จำนวน 522 ตำแหน่ง 2) พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 28 ราย ทั้ง 2 กลุ่มเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ 4) แบบเก็บข้อมูลการเกิดภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่าเกิดภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ จำนวน 6 ตำแหน่ง (ร้อยละ1.14) ในกลุ่มตัวอย่าง 6 ราย (ร้อยละ 2.22) ระดับน้อย 1 ตำแหน่ง ระดับปานกลาง 3 ตำแหน่งและระดับรุนแรง 2 ตำแหน่ง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ ได้แก่ อายุ ความรุนแรงของโรค ความเข้มข้นและปริมาณยาที่ได้รับ ระยะเวลาการสัมผัสยา ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล
นอร์อิปิเนฟรินเมื่อให้ทางหลอดเลือดดำส่วนปลายจะทำให้เกิดภาวะรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำได้ พยาบาลวิชาชีพจึงควรปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
References
Levy, M. M., Evans, L. E., & Rhodes, A. The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Critical Care Medicine. 2018; 46(6): 997–1000.
Loubani, O. M., & Green, R. S. A systematic review of extravasation and local tissue injury from administration of vasopressors through peripheral intravenous catheters and central venous catheters. Journal of critical care. 2015; 30(3): 653-659.
Alexander, C. M., Ramseyer, M., & Beatty, J. S. Missed extravasation injury from peripheral infusion of norepinephrine resulting in forearm compartment syndrome and amputation. The American Surgeon. 2016; 82(7), E162.
Ravi Ranjan Pradhan. Inadvertent extravasations of norepinephrine. Clinical Case Report. 2022; 10(10). DOI: 10.1002/ccr3.6516
Le, A., & Patel, S. Extravasation of noncytotoxic drugs: a review of the literature. Annals of Pharmacotherapy. 2014; 48(7), 870-886.
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ จากการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2560; 37 (2); 169-181.
Reynolds, P. M., MacLaren, R., Mueller, S. W., Fish, D. N., & Kiser, T. H. Management of extravasation injuries: a focused evaluation of noncytotoxic medications. Pharmacotherapy: The Journal of Human Pharmacology and Drug Therapy. 2014; 34(6): 617-632.
Lewis, T., Merchan, C., Altshuler, D., & Papadopoulos, J. Safety of the peripheral administration of vasopressor agents. Journal of intensive care medicine, 2019; 34(1): 26-33.
Jose Cardenas-Garcia, Karen F Schaub, Yuly G Belchikov, MangalaNarasimhan, Seth J Koenig& Paul H Mayo. Safety of peripheral intravenous administration of vasoactive medication. Journal of Hospital medicine.2015; 10(9):581-585. DOI: 10.1002/jhm.2394
Ann Le & Samit Patel. Extravasation of Noncytotoxic Drugs: A Review of the Literature. Ann pharmacother 2014 Jul; 48(7): 870-886.DOI: 10.1177/1060028014527820
Paul M. Reynolds, Robert MacLaren, Scott W. Mueller, Douglas N. Fish&Tyree H. Kiser. Management of Extravasation Injuries: A Focused Evaluation of Noncytotoxic Medications.Journal of Hospital Medication. 2015; 10(9); 581-585.DOI: 10.1002/jhm.2394
ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล,อุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน. วารสาร มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 2562; 25(2): 92-108.
Pathomjaruwat T. Impact of a nursing care guideline on prevention and management of extravasation. Journal of Nursing council. 2016; 31(2): 81-95.
ลำดวน มีภาพ, อนัฆพงษ์ พันธุ์มณี, คำผล สัตยวงษ์, ธิดารัตน์ เกษแก้วกาญจน์, นลัทพร สืบเสาะ, ประกายรุ่ง ต้นทัพไทยและคณะ.ผลการทดสอบแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการอาการของการรั่วของยาและสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายในผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร.วารสารโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563; 1(4): 288-303.
Feng, F., Yang, W., Zhang, Z., Mu, C., Li, M., & Chen, Y. Safety of administration of norepinephrine through peripheral vein line in patients with septic shock. ZhonghuaweiZhong Bing jijiuyixue. 2021; 33(3): 276-280.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว