ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รัฐพล ศิลปรัศมี อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์ อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ , สุขภาพช่องปาก, นักเรียนชั้นมัธยมปลาย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนมัธยมปลาย และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ และทัศนคติกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมปลาย จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมปลาย จังหวัดสระแก้ว จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการทดสอบไคสแควร์ 

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.56 มีอายุเฉลี่ย 16.47 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 43.53 พักอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่/ผู้ปกครอง ร้อยละ 79.42 ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 34.30 รายได้ครอบครัวต่อเดือนเฉลี่ย 10,432.89 บาท และกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีฟันผุ มีระดับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ระดับสูง ร้อยละ 41.69 มีระดับความเชื่อด้านการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53.03 และระดับทัศนคติด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 72.04 และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 47.76 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.035 และ 0.024 ตามลำดับ)  

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความรู้ และทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากค่อนข้างดี จึงควรมุ่งเน้นการส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสริมสุขภาพในการ ป้องกัน รักษา และดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องเหมาะสม

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินงานสำนักทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสัมภาษณ์์กลุ่มอายุ 12 ปีและ 15 ปี ในการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2551-2555. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2556

นิตยา นิยมการ,นิรัตน์ อิมามี.ความรูการรับรูและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพชองปากเด็กของ ผู้ปกครองศูนย์เด็กเล็กตาบลพังราดอำเภอแกลงจังหวัดระยอง. วารสารสุขศึกษา.2554;34(119):38-48.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกำแหง, พัชรี ดวงจันทร์.(2013). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น.วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2556; 19(2):153-163.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินงานสำนักทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.

วิธี แจ่มกระทึก. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2541.

สดุดี ภูห้องไสย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์. วท.ม. (อนามัยครอบครัว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหิดล. 2541.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินงานสำนักทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.

Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan. Educational and Psychological Measurement. (Washington, DC: The Mid Atlantic Equity Center, 1970).

นิภา โพชนะ. ผลการศึกษาพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของมารดาในเด็กวัยก่อนเรียน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

ศิริพร คุยเพียภูมิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนนครวิทยาคม ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.2555.

Hawa S Mbawalla, Joyce R Masalu, Anne N Astrom. Socio-demographic and behavioural correlates of oral hygiene status and oral health related quality of life, the Limpopo - Arusha school health project (LASH): A cross-sectional study: BMC Pediatrics. 2010, 10(87):1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-08-2023