การศึกษาค่าอัตราการกรองไตที่เหมาะสมในการวางสายฟอกไตทางช่องท้องเพื่อช่วยลดอัตราการฟอกไตทางเส้นเลือดฉุกเฉิน (Unplanned Hemodialysis) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 5 ของโรงพยาบาลอินทร์บุรี

ผู้แต่ง

  • อดิศร อรัญปาลย์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, ค่าอัตราการกรองไต, ฟอกไตทางช่องท้อง, ฟอกไตทางเส้นเลือดฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไตเรื้อรัง (CKD) เป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก โรงพยาบาลอินทร์บุรีพบอุบัติการณ์ผู้ป่วย CKD ระยะ 5 ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดฉุกเฉินก่อนวางสาย Tenckhoff catheter (TK) ค่อนข้างสูง ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาค่าอัตราการกรองไต (estimated Glomerular Filtration Rate: eGFR) ที่เหมาะสมที่จะใช้ในการวางสายฟอกไตทางช่องท้อง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลผู้ป่วย CKD ระยะ 5 ที่ฟอกไตทางช่องท้อง (PD) ทั้งหมดตั้งแต่            1 กุมภาพันธ์ 2559 - 31 ธันวาคม 2565 ศึกษาค่า eGFR ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาวะแทรกซ้อนด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่า eGFR ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งสองกลุ่มโดยใช้ chi-square หรือ   T-test วิเคราะห์หาค่าจุดตัดที่เหมาะสม โดยใช้ diagnostic test แสดงค่าความไว ความจำเพาะ และ ROC area

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย PD 83 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดฉุกเฉินก่อนวางสาย TK (unplanned HD group) 37 รายและกลุ่มที่ไม่ได้รับการฟอกเลือดฉุกเฉิน (planned PD group) 46 ราย พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดฉุกเฉินมี eGFR เฉลี่ยต่ำกว่า (4.9 เทียบกับ 6.8 มล./นาที/1.73 ตร.ม., p<0.001) พบภาวะแทรกซ้อนของกลุ่ม unplanned HD มีความชุกของภาวะยูรีเมียมากกว่า (ร้อยละ 67.9 เทียบกับ 10.9, p<0.001) มีความชุกของภาวะน้ำเกินมากกว่า (ร้อยละ 56.8 เทียบกับ 17.4, p<0.001) มีภาวะเลือดเป็นกรดมากกว่า (ร้อยละ 18.9 เทียบกับ 2.2, p=0.01)  และเมื่อวิเคราะห์หาค่า eGFR ที่เหมาะสมในการวางสาย TK เพื่อฟอกไตทางช่องท้องได้แก่ 5.7 มล./นาที/1.73 ตร.ม.  ค่าความไว (sensitivity) ร้อยละ 70.3 ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 76.1 พื้นที่ใต้โค้ง (ROC area) = 0.73 (95%CI = 0.64–0.83)            ค่าอัตราส่วนที่ควรจะเป็นของผลบวก (likelihood ratio (+)) = 2.94 ค่าอัตราส่วนที่ควรจะเป็นของผลลบ (likelihood ratio (-)) = 0.39, ค่าทำนายการเป็นโรค (positive predictive value) ร้อยละ 70.27 ค่าทำนายการไม่เป็นโรค (negative predictive value) ร้อยละ 76.09 

สรุปผล: ผู้ป่วย CKD ระยะ 5 ควรเริ่มฟอกไตทางช่องท้องเมื่อ eGFR ต่ำลงถึง 5.7 มล./นาที/1.73 ตร.ม. เพื่อป้องกันการฟอกไตทางเส้นเลือดฉุกเฉิน

References

Go AS, Chertow GM, Fan D, McCulloch CE, Hsu CY. Chronic kidney disease and the risks of death, cardiovascular events, and hospitalization. N Engl J Med. 2004 Sep 23;351(13):1296-305.

Etgen T, Chonchol M, Förstl H, Sander D. Chronic kidney disease and cognitive impairment: a systematic review and meta-analysis. Am J Nephrol. 2012;35(5):474-82.

Perlman RL, Finkelstein FO, Liu L, Roys E, Kiser M, Eisele G, et al. Quality of life in chronic kidney disease (CKD): a cross-sectional analysis in the Renal Research Institute-CKD study. Am J Kidney Dis. 2005 Apr;45(4):658-66.

Chin HJ, Song YR, Lee JJ, Lee SB, Kim KW, Na KY, et al. Moderately decreased renal function negatively affects the health-related quality of life among the elderly Korean population: a population-based study. Nephrol Dial Transplant. 2008 Sep;23(9):2810-7.

Chuasuwan A, Lumpaopong A. Thailand Renal Replacement Therapy Year 2020. Thai Nephrology Society of Thailand. 2020:1-64.

Kidney Disease Improving Global Outcomes (KDIGO 2012). KDIGO 2012 Clinical Practice Guidelines for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease. 2013;3(1):1-163.

คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ. 2561. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 2561;1-68.

Cooper BA, Branley P, Bulfone L, Collins JF, Craig JC, Fraenkel MB, et al. IDEAL Study. A randomized, controlled trial of early versus late initiation of dialysis. N Engl J Med. 2010 Aug 12;363(7):609-19..

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี[อินเตอร์เน็ต]. สิงห์บุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2565 [เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 7 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://3doctor.hss.moph.go.th /main/rp_ampur?region=4&prov=MTc=&provn=4Liq4Li04LiH4Lir4LmM4Lia4Li44Lij4Li1.

National Kidney Foundation. KDOQI Clinical Practice Guideline for Hemodialysis Adequacy: 2015 update. Am J Kidney Dis. 2015 Nov;66(5):884-930.

Nesrallah GE, Mustafa RA, Clark WF, Bass A, Barnieh L, Hemmelgarn BR, et al. Canadian Society of Nephrology. Canadian Society of Nephrology 2014 clinical practice guideline for timing the initiation of chronic dialysis. CMAJ. 2014 Feb 4;186(2):112-7.

Adequacy of dialysis and nutrition in continuous peritoneal dialysis: association with clinical outcomes. Canada-USA (CANUSA) Peritoneal Dialysis Study Group. J Am Soc Nephrol. 1996 Feb;7(2):198-207.

Tang SC, Ho YW, Tang AW, Cheng YY, Chiu FH, Lo WK, et al. Hong Kong Peritoneal Dialysis Study Group. Delaying initiation of dialysis till symptomatic uraemia--is it too late? Nephrol Dial Transplant. 2007 Jul;22(7):1926-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2023