ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเอง ช่วงสถานการณ์ COVID-19 ของประชาชน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • รัฐพล ศิลปรัศมี อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เฌอลินญ์ สิริเศรษฐ์ภพ อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สมุนไพร , สมุนไพร , สระแก้ว, COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเองช่วงสถานการณ์ COVID-19 ของประชาชน อำเภอวัฒนานคร
จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 20 - 59 ปี ที่มีประสบการณ์ในการใช้สมุนไพร การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ 0.85 และ 0.90 ตามลำดับ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และทัศนคติอยู่ในระดับสูง และ ปัจจัยนำ ด้านความรู้ ปัจจัยเอื้อด้านแหล่งที่มาของสมุนไพรและด้านความง่ายในการเข้าถึงสมุนไพรไทย และปัจจัยเสริม ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานทางการแพทย์ในพื้นที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงสถานการณ์ COVID-19  ของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.232, 0.459, 0.428 และ 0.461, p-value < 0.05 ตามลำดับ)

สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนําไปใช้ในการวางแผนการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยสมุนไพรไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Lake, M. A.. What we know so far: COVID-19 current clinical knowledge and research. Clinical Medicine. 2020; 20(2):124.

World Health Organization. (2020a). Coronavirus (COVID-19). [Internet]. 2566 [cited 2023 Jan 7]. Available from: https://who.sprinklr.com/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรค. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. เเนวทางปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เพอปองกนการแพรระบาด ของโรคติดเชอไวรสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: chrome- extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://ttm.skto.moph.go.th/document_file/pr002.pdf.

กลุ่มงานสื่อสารองค์กร กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. สถิติการใช้บริการแพทย์แผนไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://thaicam.go.th/?option=com_contact&view=contact&id=2%3A2013-07-09-04-23-14&catid=12%3A contacts &Itemid=75.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสระแก้ว. ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนา การเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว พืชสมุนไพร (ไพล). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.opsmoac. go.th/sakaeo-article_prov-files-411691791836.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : วี อินเตอร์พรินท์. นิมิต ยศกิจ; 2541.

กิจ ไชยชมพู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในเขต 11 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์.2555;19(2):60-74.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;7(2): 25-37.

ปรารถนา เอนกปัญญากุลและคณะ.. พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการ ปขมท.2563;9(2): 76–90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-07-2023