การเปรียบเทียบระยะเวลาในการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหนองในเยื่อหุ้มปอดที่รักษาโดยการผ่าตัดและไม่ผ่าตัดของ ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี การศึกษาย้อนหลังวิเคราะห์จากเหตุไปผล

ผู้แต่ง

  • พสธร พงศ์บัณฑิตพิสิฐ กลุ่มงานศัลยกรรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

ผู้ใหญ่, ใส่สายระบายทรวงอก, ผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มปอด, ยาสลายไฟบริน, หนองในเยื่อหุ้มปอด

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคหนองในเยื่อหุ้มปอดเป็นโรคที่พบได้บ่อยหลังจากเกิดปอดอักเสบซึ่งวิธีการรักษามีทั้งวิธีการผ่าตัดระบายหนอง (Decortication) และการรักษาด้วยการระบายหนองแบบไม่ผ่าตัด (Chest drain) ทั้งนี้การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านผู้ป่วย และด้านพยาธิสภาพในปอด

วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลผลการรักษาโดยเก็บข้อมูล ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2564 โดยเปรียบเทียบการผ่าตัดกับการระบายหนองแบบไม่ผ่าตัดร่วมกับการให้ยาสลายไฟบริน (Fibrinolytic) โดยผลลัพธ์หลักคือ จำนวนวันในการนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ผลลัพธ์รองคือ ความสำเร็จของการผ่าตัด จำนวนวันที่ต้องใช้ออกซิเจนหลังผ่าตัด จำนวนวันที่มีไข้หลังผ่าตัด อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำหัตถการ การเสียชีวิต วิเคราะห์โดยใช้ Unpaired T-test และ Chi-Square test

ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดลดเวลาการนอนโรงพยาบาลได้ (3.74 วัน p<0.05) ความสำเร็จของหัตถการ จำนวนวันที่ต้องใช้ออกซิเจน จำนวนวันที่มีไข้ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน การเสียชีวิต ความสำเร็จของการทำหัตถการ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มปอด สามารถลดระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดได้เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยการใส่สายระบายร่วมกับให้ยาสลายไฟบรินแต่ไม่สามารถแสดงความแตกต่างของเวลาการให้ออกซิเจน ไข้ ความสำเร็จของหัตถการ การเสียชีวิตได้ จากการศึกษานี้แนะนำให้ผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มปอดเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยที่พร้อมสำหรับผ่าตัด เพื่อลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

References

Community-acquired pneumonia in adults in British hospitals in 1982-1983: a survey of aetiology, mortality, prognostic factors and outcome. The British Thoracic Society and the Public Health Laboratory Service. Q J Med 1987;62(239):195-220.2.

Ahmed RA, Marrie TJ, Huang JQ. Thoracic empyema in patients with community-acquired pneumonia. Am J Med 2006;119(10):877-83.3.

Glinjongol Ch. Management of empyema thoracis in Ratchaburi hospital. Religion7 Medical Journal 1992;1:5-14.

Molnar TF. Current surgical treatment of thoracic empyema in adults. Eur J Cardiothorac Surg. 2007 Sep;32(3):422-30.

Shen KR, Bribriesco A, Crabtree T, Denlinger C, Eby J, Eiken P, et al. The American Association for Thoracic Surgery consensus guidelines for the management of empyema. J Thorac Cardiovasc Surg. 2017 Jun;153(6):e129-e146.

St Peter SD, Tsao K, Spilde TL, Keckler SJ, Harrison C, Jackson MA, Sharp SW, Andrews WS, Rivard DC, Morello FP, Holcomb GW 3rd, Ostlie DJ. Thoracoscopic decortication vs tube thoracostomy with fibrinolysis for empyema in children: a prospective, randomized trial. J Pediatr Surg. 2009 Jan;44(1):106-11.

Redden MD, Chin TY, van Driel ML. Surgical versus non-surgical management for pleural empyema. Cochrane Database Syst Rev. 2017 Mar 17;3(3).

Pan H, He J, Shen J, Jiang L, Liang W, He J. A meta-analysis of video-assisted thoracoscopic decortication versus open thoracotomy decortication for patients with empyema. J Thorac Dis. 2017;9(7):2006-2014.

อนันต์ ลาภพิกุลทอง, ชนินทร์ กลิ่นจงกล, ยุทธสินธุ์ วงค์แสงคำ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคติดเชื้อหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดที่รักษาด้วยการผ่าตัดในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2560; 36(2) : 71-77.

Sellke, Frank W, Pedro J. Del Nido, and Scott J. Swanson. Sabiston & Spencer Surgery of the Chest. 9th ed. Philadelphia, PA: Elsevier, 2016.

Bilgin M, Akcali Y, Oguzkaya F. Benefits of early aggressive management of empyema thoracis. ANZ J Surg. 2006 Mar;76(3):120-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2023