การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน กับภาวะแทรกซ้อนหลังนอนโรงพยาบาลอินทร์บุรี
คำสำคัญ:
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, ภาวะแทรกซ้อน, ปอดอักเสบ, NIHSS, หลอดเลือดสมองตีบบทคัดย่อ
บทนำ โรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มการเกิดโรคและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น สาเหตุการตายในระยะเฉียบพลันมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนหลังนอนโรงพยาบาล จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระดับความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมองตีบ (NIHSS) กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและศึกษาปัจจัยเสี่ยง และอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อน
วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2565 จำนวน 180 คน เก็บลักษณะพื้นฐาน ปัจจัยเสี่ยง NIHSS และภาวะแทรกซ้อน นำมาหาความสัมพันธ์และปัจจัยเสี่ยงระหว่างกลุ่มที่เกิดและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนโดยใช้ chi-square, Cox regression-robust analysis แสดงผลด้วยค่า RR และควบคุมอิทธิพลปัจจัยอื่นๆ แสดงผลด้วยค่า Adjusted RR และ 95%CI of RR โดยมีค่า P-value < .05
ผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษา 180 คน มีภาวะแทรกซ้อน 66 คน (36.6%) พบว่าระดับ NIHSS ในกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนมีค่ามัธยฐาน 11 สูงกว่าอีกกลุ่มคือ 3 โดย RR 1.09 [95%CI,1.07-1.14], P-value <0.001 และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่ม low NIHSS กับ moderate NIHSS และ severe NIHSSพบว่ามีความเสี่ยงมากขึ้น RR 3.06 [95%CI, 1.71-5.49], P-value <0.001 และ RR 2.67 [95%CI, 1.98-3.60], P-value < 0.001 ตามลำดับและพบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เพศหญิง กลุ่มอายุมากว่า 60 ปี ใส่สายยางให้อาหาร (NG) ใส่สายสวนปัสสาวะและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลนาน โดยปอดอักเสบสัมพันธ์กับเพศชาย เบาหวาน ใส่ NG และนอนโรงพยาบาลนาน ส่วนการใส่สายสวนปัสสาวะสัมพันธ์กับการเกิดติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ พบอุบัติการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบติดเชื้อ 4.2% ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 2.32% และเส้นเลือดสมองตีบรุนแรงมากขึ้น 1.32%
สรุปผล ระดับ NIHSS ที่สูงขึ้นตั้งแต่ระดับ moderate NIHSS เพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังนอนโรงพยาบาล โดยพบเพศหญิง อายุ>60ปี ใส่สายยางให้อาหาร สายสวนปัสสาวะ และระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
References
กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันวันอัมพาตโลก ปี 2564 ให้ประชาชน “รู้สัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต”[อินเตอร์เนต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ20 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21374&deptcode=brc
มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การสูญเสียปีสุขภาวะ Disability-Adjusted Life Years: DALYs รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักพิมพ์บริษัทเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด; 2557
Complications Increase Risk of Dying After Stroke. Emergency Medicine News 26(12):p 24, December 2004.
Bustamante A, Giralt D, García-Berrocoso T, Rubiera M, Álvarez-Sabín J, Molina C, Serena J, Montaner J. The impact of post-stroke complications on in-hospital mortality depends on stroke severity. Eur Stroke J. 2017 Mar;2(1):54-63. doi: 10.1177/2396987316681872. Epub 2016 Nov 28. PMID: 31008302; PMCID: PMC6453178.
Kogan E, Twyman K, Heap J, Milentijevic D, Lin JH, Alberts M. Assessing stroke severity using electronic health record data: a machine learning approach. BMC Med Inform DecisMak. 2020 Jan 8;20(1):8. doi: 10.1186/s12911-019-1010-x. PMID: 31914991; PMCID: PMC6950922.
Zöllner JP, Misselwitz B, Kaps M, Stein M, Konczalla J, Roth C, Krakow K, Steinmetz H, Rosenow F, Strzelczyk A. National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) on admission predicts acute symptomatic seizure risk in ischemic stroke: a population-based study involving 135,117 cases. Sci Rep. 2020 Mar 2;10(1):3779. doi: 10.1038/s41598-020-60628-9. PMID: 32123219; PMCID: PMC7051974.
Boone M, Chillon JM, Garcia PY, Canaple S, Lamy C, Godefroy O, Bugnicourt JM. NIHSS and acute complications after anterior and posterior circulation strokes. TherClin Risk Manag. 2012;8:87-93. doi: 10.2147/TCRM.S28569. Epub 2012 Feb 27. PMID: 22399853; PMCID: PMC3295625.
Kuo YW, Huang YC, Lee M, Lee TH, Lee JD. Risk stratification model for post-stroke pneumonia in patients with acute ischemic stroke. Eur J CardiovascNurs. 2020 Aug;19(6):513-520. doi: 10.1177/1474515119889770. Epub 2019 Nov 16. PMID: 31735079.
Ding Y, Yan Y, Niu J, Zhang Y, Gu Z, Tang P, Liu Y. Braden scale for assessing pneumonia after acute ischaemic stroke. BMC Geriatr. 2019 Oct 7;19(1):259. doi: 10.1186/s12877-019-1269-x. PMID: 31590645; PMCID: PMC6781366.
Aslanyan S, Weir CJ, Diener HC, Kaste M, Lees KR; GAIN International Steering Committee and Investigators. Pneumonia and urinary tract infection after acute ischaemic stroke: a tertiary analysis of the GAIN International trial. Eur J Neurol. 2004 Jan;11(1):49-53. doi: 10.1046/j.1468-1331.2003.00749.x. PMID: 14692888.
Garavelli F, GhelfiAM, Kilstein JG. Usefulness of NIHSS score as a predictor of non-neurological in-hospital complications in stroke. Med Clin (Barc). 2021 Nov 12;157(9):434-437. English, Spanish. doi: 10.1016/j.medcli.2020.07.034. Epub 2020 Oct 14. PMID: 33069388.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี[อินเตอร์เนต]. สิงห์บุรี:กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2565 [เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 7 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_ampur?region=4&prov=MTc=&provn=4Liq4Li04LiH4Lir4LmM4Lia4Li44Lij4Li1.
สมบัติ มุ่งทวีพงษา.โรคหลอดเลือดสมองและประสาทวิทยาวิกฤติ Cerebrovascular and Critical Care Neurology. ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2565
Jose C Navarro, Ester Bitanga, Nijasri Suwanwela, Hui Meng Chang, Shan Jin Ryu, Yi Ning Huang. Complication of acute stroke: A study in ten Asian countries. Neurology Asia. 2008; 13 : 33 – 39
Leangpanich N, Chuphanitsakun Y, Pakaranodom K, Kerdjarern K, Poonual W. Scoring Of Post Stroke Pneumonia In Uttaradit Hospital. J Multidiscip Healthc. 2019 Nov 15;12:917-923. doi: 10.2147/JMDH.S218654. PMID: 31814729; PMCID: PMC6863128
Dharmasaroja PA, Charernboon T. Clinical Risk Score for Predicting Vascular Dementia after Ischemic Stroke in Thailand. Stroke Res Treat. 2022 Sep 26;2022:1600444. doi: 10.1155/2022/1600444. PMID: 36199625; PMCID: PMC9529475
Badve MS, Zhou Z, van de Beek D, Anderson CS, Hackett ML. Frequency of post-stroke pneumonia: Systematic review and meta-analysis of observational studies. Int J Stroke. 2019 Feb;14(2):125-136. doi: 10.1177/1747493018806196. Epub 2018 Oct 22. PMID: 30346258.
Wästfelt M, Cao Y, Ström JO. Predictors of post-stroke fever and infections: a systematic review and meta-analysis. BMC Neurol. 2018 Apr 23;18(1):49. doi: 10.1186/s12883-018-1046-z. PMID: 29685118; PMCID: PMC5913801.
Colbert JF, Traystman RJ, Poisson SN, Herson PS, Ginde AA. Sex-Related Differences in the Risk of Hospital-Acquired Sepsis and Pneumonia Post Acute Ischemic Stroke. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2016 Oct;25(10):2399-404. doi: 10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2016.06.008. Epub 2016 Jun 28. PMID: 27363622; PMCID: PMC5026915.
Poisson SN, Johnston SC, Josephson SA. Urinary tract infections complicating stroke: mechanisms, consequences, and possible solutions. Stroke. 2010 Apr;41(4):e180-4. doi: 10.1161/STROKEAHA.109.576413. Epub 2010 Feb 18. PMID: 20167905
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว