การจัดการภาวะซีดในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พัฒนา พรหมณี สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • มาโนชญ์ ชายครอง สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา

คำสำคัญ:

การจัดการ, ภาวะซีด, นักเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะซีดเป็นภาวะที่ระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่าค่าปกติ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กนักเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการภาวะซีดในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา และศึกษาผลการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการภาวะซีด

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ สาธารณสุขอำเภอ 2 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 3 คน พยาบาลวิชาชีพของ รพ.สต. 4 คน และนักวิชาการสาธารณสุข 4 คน รวม 13 คน และเด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดกับผู้ปกครอง 34 คู่ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกระดับเม็ดเลือดแดงอัดแน่น แบบสอบถามพฤติกรรมที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.65-0.80 และค่าความเชื่อมั่นที่ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test (dependent)

ผลการศึกษา: 1) แนวทางทางการจัดการภาวะซีดประกอบด้วย การกำหนดคณะทำงาน กิจกรรม ตัวชี้วัด และแผนการดำเนินงาน 2) ผลการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการภาวะซีด ก่อนปฏิบัติการ นักเรียนมีค่าร้อยละของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเฉลี่ย ร้อยละ 31.45 และหลังปฏิบัติการ ร้อยละ 34.72 เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 3.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.01) และระดับพฤติกรรมการดูแลเกี่ยวกับอาหารของผู้ปกครอง ก่อนปฏิบัติตามแนวทางการจัดการภาวะซีดมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับเหมะสมปานกลาง (±S.D.=3.02±0.60) และหลังปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับเหมาะสมมากที่สุด (±S.D.=4.59±0.21) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.03)

สรุปผลการศึกษา: แนวทางทางการจัดการภาวะซีดมี 4 ขั้นตอน (การกำหนดคณะทำงาน กิจกรรม ตัวชี้วัด และแผนการดำเนินงาน) ผลการปฏิบัติการค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นของเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้น และผู้ปกครองดูแลอาหารสำหรับเด็กนักเรียนเหมาะสมมากขึ้น

 

References

ดารณี อิสระนิมิตกุล. แนวทางการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางในเด็ก. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์ เขตเมือง. 2561; 62 (พิเศษ): 253-61.

นภัสวรรณ ชนะพาล. รูปแบบการดำเนินงานการจัดการภาวะซีดในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565; 16(2); 565-580.

อัญชลี ภูมิจันทึก ชัชฎา ประจุดทะเก และประดับ ศรีหมื่นไวย. สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซีดในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 9. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2562; 13(31): 178-90.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2560.

สำนักโภชนาการ. รายงานประจำปี สำนักโภชนาการ 2564. นนทบุรี: กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Kemmis, S., & McTaggart, R. The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University Press; 1981.

ศรัชฌา กาญจนสิงห์. ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน เขตสุขภาพที่ 6. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566; 17(1): 326-338.

รวิวรรณ คำเงิน ปภาสินี แซ่ติ๋ว และอัญชลี นาคเพชร. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก. วารสารพยาบาลทหารบก. 2565; 23(1): 1-5.

Hsieh, H-F., & Shannon, S. E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research, 15(9); 1277-1288.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-07-2023