ผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นำไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของ ผู้บาดเจ็บรุนแรง หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
แนวทางการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วย , ภาวะคุกคามชีวิต, ผู้บาดเจ็บรุนแรงบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นำไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรง และศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลรูปแบบใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บาดเจ็บรุนแรงที่มีระดับการคัดแยกระดับ 1 และระดับ 2 ที่เข้ารับบริการที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน และ 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 17 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) คู่มือแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นำไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรง 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการบาดเจ็บและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) แบบบันทึกการเฝ้าระวังระดับการเสียเลือดและอาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติโดยใช้ Chi-square test 4) แบบบันทึกระยะเวลาขั้นตอนการรับบริการที่ห้องฉุกเฉิน โดยใช้ Independent t-test และ5) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลรูปแบบใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired t-test ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลการศึกษา ได้พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นำไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรงรูปแบบใหม่ ที่ประกอบด้วย คู่มือแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นำไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรง ซึ่งคู่มือจะประกอบด้วย 1)Trauma Alert Criteria 2) การพยาบาลเฉพาะรายเฉพาะโรค และ 3) แบบบันทึกทางการพยาบาลกึ่งสำเร็จรูป และพบว่าผลการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลรูปแบบใหม่ไปใช้ มีการเฝ้าระวังอาการและอาการแสดงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาเฉลี่ยในการรับบริการที่ห้องฉุกเฉิน พบว่ากลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติรูปแบบใหม่ เท่ากับ 2.83 นาที แตกต่างกับกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติเดิมเท่ากับ 28.46 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยที่แพทย์ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หลังใช้แนวทางปฏิบัติรูปแบบใหม่เท่ากับ 6.4 นาที และก่อนใช้แนวทางปฏิบัติ เท่ากับ 21.60 นาที พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การประเมินผลของพยาบาลที่ใช้แนวทางปฏิบัติรูปแบบใหม่ พบว่ามีคะแนน ความพึงพอใจเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น เท่ากับ 4.31 คะแนน ซึ่งก่อนใช้แนวทางปฏิบัติใหม่ เท่ากับ 2.27 คะแนนพบความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการสำคัญที่นำไปสู่ภาวะคุกคามชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรงรูปแบบใหม่ สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ช่วยให้พยาบาลมีเครื่องมือในการประเมินสภาพผู้ป่วย อย่างครอบคลุมและถูกต้อง ส่งผลให้ผู้บาดเจ็บได้รับการดูแลที่ดีมีมาตรฐาน เกิดความรวดเร็วในการบริการส่งผลให้เกิดคุณภาพและผลลัพธ์ตามเป้าหมายด้านสุขภาพของผู้รับบริการ เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตผู้ป่วย
References
สํานักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ไพศาล โชติกล่อม, และ วสันต์ เวียนเสี้ยว. มาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน.นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2553.
กรองได อุณหสูต และเครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. คู่มือการปฏิบัติงานพยาบาลการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์; 2554.
American College of Surgeons Committee on Trauma. Advanced Trauma Life Support (ATLS) for doctors. (10th ed). Chicago: American College of Surgeons Committee on Trauma; 2018.
Bartz, A.E. (1999). Basics Statistical Concepts. 4thed. New Jersey: Prentice Hall.
สริยา ทวีกุล, การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560 (ออนไลน์ ) สืบค้นจาก https://www.google.co.th. (10 ภุมภาพันธ์ 2564).
นันทิยา รัตนสกุล, กฤตยา แดงสุวรรณ.การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาชนครินทร์ 2559; 8: 1-15.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต].2558 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2558].เข้าถึงได้จาก:http://www.niems.go.th/th/ Upload/File/255712081158472567_mCQK5PohDF138Ds3.pdf.
จอร์เจีย Vasileiou และคณะ.เรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของ ATLS Shock Classification สำหรับการทำนายความตาย การถ่ายเลือดหรือภาวะแทรกแซงอย่างเร่งด่วน; 2019.
มานูเอลมุทช์เลอร์และคณะ (2013). เรื่องการจำแนก ATLS ของภาวะช็อกจากภาวะ hypovolemic เป็นที่นิยมในการดูแลผู้บาดเจ็บทุกวันหรือไม่ ? แบบสำรวจออนไลน์ระหว่างผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนของ ATLS 383 คน. (ออนไลน์ ) สืบค้นจาก https://pubmed.ncbi.nlm.nih.(5 กุมภาพันธ์ 2564).
เพ็ญศรี ดำรงจิตติ์, รสสุคนธ์ ศรีสนิท, พรเพ็ญ ดวงดี, การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2557; 28:43-54
พนอ เตชะอธิก. ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2554; 34: 65-74.
กมลพรรณ รามแก้ว, อารีย์วรรณ อ่วมตานี. ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลหน่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 226-234.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว