การพัฒนาการบริการข้อมูลทางการพยาบาลห้องผ่าตัดด้านอุปกรณ์อวัยวะเทียมในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ผู้แต่ง

  • วไลพร หาวารี กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

คำสำคัญ:

อุปกรณ์อวัยวะเทียม , การพยาบาลห้องผ่าตัด , ข้อมูลการพยาบาล , 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าใช้ระบบการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 พบว่าค่าใช้จ่ายในการใช้อวัยวะเทียมของห้องผ่าตัดคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของโรงพยาบาลฯ โดยพบว่าปัญหาเกิดจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตรวจสอบและหรือประมวลผลจากสำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ทำให้ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ (ติด C) ทำให้เกิดผลกระทบกับงบประมาณของโรงพยาบาลฯ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาปัญหาของระบบการเบิกจ่ายอวัยวะเทียมของสวัสดิการข้าราชการ พัฒนาระบบ และเพื่อจัดทำระบบบริการข้อมูลทางการพยาบาลห้องผ่าตัดด้านอุปกรณ์อวัยวะเทียมในโรงพยาบาลฯในรูปแบบ Real-Time Digital Validity Testing System โดยใช้ฟังก์ชัน Match Index โปรแกรม Excel ในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ไขข้อมูลการเบิกอวัยวะเทียม วัดผลจากจำนวนที่เปลี่ยนแปลงของการติด C สอดคล้องกับกรอบแนวคิดของระบบสุขภาพ Six Building Block ใช้การวิจัยเชิงพรรณนาแบบ retrospective cohort study ด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลย้อนหลังของโรงพยาบาลฯในสวัสดิการข้าราชการการเบิกค่าอวัยวะเทียม ตั้งแต่ปี 2560-2564 ใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS โดยใช้ Chi-square และ Odds Ratio พบว่า จำนวนติด C อวัยวะเทียมห้องผ่าตัด มีโอกาสลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ร้อยละ 33.9 หลังการแก้ไข ปัญหาของการติด C นั้นพบว่าเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการพัฒนาบุคลากรให้ใช้โปรแกรม SSB ได้เชี่ยวชาญขึ้น และใช้ระบบมาตรฐาน Standard Operating Procedure เข้ามาช่วยเพื่อให้บุคลากรเข้าใจทั้งระบบ และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

References

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร. 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 5 พ.ค. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27833

ศิริเกษม ศิริลักษณ์. การจัดการความรู้ระบบสุขภาพอำเภอพึงประสงค์ โดยใช้หลักการ Six Building Blocks Plus One [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://med.nu.ac.th/home/DHS/ eBooks/ files/DHS-KnowledgeManagement.pdf

อรุณี ไพศาลพาณชิย์กุล. รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตาม Service Plan: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. Humanities, Socials Sciences, and Art. 2562;12:1265-1283.

Manyazewal T. Using the World Health Organization health system building blocks through survey of healthcare professionals to determine the performance of public healthcare facilities. Arch Public Health. 2017;31:75:50.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนวทางการดำเนินการข้อมูลติด C , deny, Verify กรณีการให้บริการโรคโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.uckkpho.com/wp-content/uploads/2022/02/1.2-แนวทางดำเนินการข้อมูลติด-C-denyVerifyกรณีการให้บริการโรคโควิด19.pdf

กรมแพทย์ทหารเรือ จะทำอย่างไรไม่ให้ติด C [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hwd.nmd.go.th/wp-content/uploads/2020/03/บทความติด-c11-1.pdf

กรมบัญชีกลาง. คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://home.kku.ac.th/praudit/law/07_medical_fee/22_Medical_guide_government%20officer_CGD_2553.pdf

Support Microsoft. Excel สูตรและฟังก์ชัน [อินเทอร์เน็ต]. 2022. [เข้าถึงเมื่อ 21 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://support.microsoft.com/th-th/office

จีระพร ลาสุดี และ ยอดชาย สุวรรณวงษ์. การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ของโรงพยาบาลภาครัฐในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13:523-531.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. พยาบาลสารสนเทศ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15:81-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-08-2023