การพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า ด้วยกระบวนการหมอ 3 หมอ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ธีร์สุทธิ ปีตวิบลเสถียร โรงพยาบาลหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคซึมเศร้า, การฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

บทนำและวิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมิน 2Q 9Q 8Q ที่มีผลผิดปกติ (2Q = 1 หรือ 2 คะแนน , 9Q = 0-18 คะแนน (ระดับน้อยถึงระดับปานกลาง)และ 8Q ≤ 16 คะแนน(มีแนวโน้มฆ่าตัวตายระดับน้อยถึงปานกลาง) จัดเป็นเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า จำนวน 28 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 14 ราย กลุ่มควบคุม 14 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน 2Q 9Q 8Q และรูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าด้วยกระบวนการหมอ 3 หมอ ซึ่งผู้วิจัย ได้พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ t-test

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า 1) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าในกลุ่มทดลองกับการรักษาตามปกติในกลุ่มควบคุม พบว่า รูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้าในกลุ่มทดลองมีประสิทธิผลในการลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการรักษาตามปกติในกลุ่มควบคุม โดยประเมินด้วยแบบคัดกรอง 2Q อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประเมินด้วยแบบประเมิน 9Q อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยกระบวนการหมอ 3 หมอ เป็นการพัฒนาที่เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเนื่องจากรูปแบบดังกล่าวสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างได้ 3).เปรียบเทียบ ร้อยละของความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนารูปแบบฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีความคิดฆ่าตัวตายก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ร้อยละ 14.285 หลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย และกลุ่มควบคุมมีความคิดฆ่าตัวตายก่อนเข้ารับการรักษาตามปกติ ร้อยละ 21.428 หลังการรักษาตามปกติมีความคิดฆ่าตัวตายลดลงเหลือร้อยละ 7.142 ซึ่งวัดจากแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย 8 คำถาม(8Q)

สรุป: การพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าด้วยกระบวนการหมอ 3 หมอ สามารถลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ และได้ผลดีกว่าการรักษาตามปกติเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถลดความคิดฆ่าตัวตายในกลุ่มทดลองได้

References

World Health Organization. (2022). Suicide. เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.เข้าถึงได้จากhttps://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/suiside

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.(2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562.เข้าถึงเมื่อ31 สิงหาคม 2565.เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/ download/knowledge /th 1635859856-984_0.pdf.

Psysiopedia.(2022).Psychological Factors in Ageing. เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2565เข้าถึงได้จากhttps://www.physio-pedia.com/ Theories_of_Ageing #Psychological _Theories.

world health organization. (2019).suicide worldwide in 2019 เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2565.เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/publications/i/item/9789240026643.

ทัตพร อิสสรโชติ.(2565). การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สัญญาณและการป้องกัน. เข้าถึงเมื่อ 23 สิงหาคม2565.เข้าถึงได้จาก https://hellokhunmor.com

world health organization. (2017). Mental health of older adults. เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2565.เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/ publications/i/ item/ 9789240026643.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 กรมสุขภาพจิต.(2565). รายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564. เข้าถึงเมื่อ 23 ส.ค.2565.เข้าถึงได้จาก https://www.mhc03.go.th/ITA2565/O12.

World Federation for Mental Health.(2012).Depression : A Global Crisis. เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2565.เข้าถึงได้จาก www.who.int/mental_health/management/.

วิจิตร แผ่นทอง,อัจฉรา คำมะทิตย์,วรวุฒิ แสงทอง,อรอนงค์ นิลพัฒน์,สุนิสา ค้าขึ้น.ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการ ในโรงพยาบาลชุมชน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธรรณสุขภาคใต้.2563;2:114-26.

รุจิวรรณ สอนสมภาร.แนวทางการส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ.2561;1:77-89.

สามารถ บุญรัตน์.กระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อการลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน.วารสารธรรมวิชญ์(การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ).2562;2:281-92

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี , บุญมา สุนทราวิรัตน์ และนิตยาภรณ์ โคตรแก้ว.สถานการณ์และแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตาย : มุมมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จังหวัดเลย ประเทศไทย.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7:112-126.

บุษบา คล้ายมุข.ผลของการให้คำปรึกษาเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารสภาการพยาบาล. 2555;27:106-15.

วิรมณ กาสีวงศ์ และสุประวีณ์ คงธนชโยพิทย์.อุปสรรคการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม.2560;25:164-72.

คะนึงนิจ ศรีสอนใจ. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่.เข้าถึงเมื่อ 23 ส.ค.2565. เข้าถึงได้จาก https://www. chiangmaihealth.go.th/ cmpho_web/document/220223164561529127.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2558).คู่มือความสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง).เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/book/ files/.pdf

ชฎาพร คงเพ็ชร์.การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาล.2562;68:64-71.

พิทยุตม์ คงพ่วง,พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง,วัชรี เพ็ชรวงษ์,สุนันทรา ขำนวนทองและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ.2564;6:338-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023