ผลของโปรแกรมการพัฒนาทุนจิตวิทยาเชิงบวกต่อการลดน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • สุชาติ ดำดล โรงพยาบาลทัพทัน

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ทุนจิตวิทยาเชิงบวก, การลดน้ำหนัก, การลดระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ:  มีการศึกษาแบบย้อนกลับที่พบว่าการลดระดับน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 5 ถึง ร้อยละ 10 จากน้ำหนักตัวเดิม  มีความสัมพันธ์กับการลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ร้อยละ 0.6–1.0 วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการพัฒนาทุนจิตวิทยาเชิงบวกต่อการลดน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำหนักเกิน

วิธีการศึกษา:  เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวและมีการวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 28 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตรวจร่างกาย จำนวน 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงในช่วงเวลาหลังการทดลอง และระยะติดตามผล เมื่อเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=431.92, P<.001; F=53.295, P<.001)

สรุปผลการศึกษา: การศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมทุนจิตวิทยาเชิงบวก มีประสิทธิผลต่อการลดระดับน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคอ้วนและผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 9th edn. Brussels, Belgium: 2019.Available at: http://www.diabetesatlas.org

วิชัย เอกพลากร. (บก.). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพ:อรุณการพิมพ์; 2557.

Borgundvaag E, Mak J, Kramer CK. Metabolic Impact of Intermittent Fasting in Patients With Type 2 Diabetes Mellitus: A Systematic Review and Meta-analysis of Interventional Studies. J Clin Endocrinol Metab. 2021 Mar 8;106(3):902-911.doi: 10.1210/ clinem/dgaa926. PMID: 33319233.

Wing RR, Lang W, Wadden TA, et al. Benefits of modest weight loss in improving cardiovascular risk factors in overweight and obese individuals with type 2 diabetes. Diabetes Care. 2011;34:1481–1486. [PMC free article] [PubMed] [Google Scholar]

Ryan, D. H., & Yockey, S. R. Weight Loss and Improvement in Comorbidity: Differences at 5%, 10%, 15%, and Over. Current obesity reports, 2017; 6(2): 187–194. https://doi.org /10.1007/s13679-017-0262-y

โรงพยาบาลทัพทัน. สรุปผลการดำเนินงานการควบคุมโรคไม่ติดต่อปี 2565.อุทัยธานี:กลุ่มงานเวชปฏิบัติ ; 2565.

Bramante, C. T., Lee, C. J., & Gudzune, K. A. Treatment of Obesity in Patients With Diabetes. Diabetes spectrum: a publication of the American Diabetes Association, 2017; 30(4): 237–243. https://doi.org/10.2337/ds17-0030

ทิวาพร ฟูเฟื่อง, คชาภรณ์ ศรีพารัตน์, สมหมาย หิรัญนุช, สุกัลยา ศรัทธาธรรมกุล และ พัชรียา สีจักร. จิตวิทยาเชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2564; 13:301-312.

Mary S B,Tony C. Diet, Exercise and Motivation in Weight Reduction: The Role of Psychological Capital and Stress. JOJ Nurse Health Care. 2018; 9(5): 555775. DOI: 10.19080/JOJNHC.2018.09.555775.

Luthans F, Avolio b, Avey J, Norman S. Positive Psychological Capital: Measurement and Relationship with Performance and Satisfaction. Personnel Psychology. 2007; 541-572.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed). Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดียจำกัด; 2553.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. การประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ เรื่องการเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นฉบับภาษาไทย(MMSE-Thai) 2002และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination; TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีจีทูล จำกัด; 2551.

Mahoney FI, Barthel DW. Functional evaluation. The barthel index. Maryland State Med J 1965:14;61-5.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุลและคณะ. การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541: 85-6.

Intarakamhang U, Macaskill A. Effectiveness of a health literacy intervention based on transformative learning and incorporating positive psychology on health behavior and well-being of Thai families with NCDs risk. J Public Health Res. 2021;11(2):1935. Published 2021 May 26. doi:10.4081/jphr.2021.1935.

ศิริเนตร สุขดี.ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวกและความรอบรู้ทางสุขภาพ ที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง. วารสารวิชาการวิจัย และนวัตกรรม มสธ.(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2565; 2:23-34.

Carrillo A, Feig EH, Harnedy LE, et al. The role of positive psychological constructs in diet and eating behavior among people with metabolic syndrome: A qualitative study. Health Psychology Open. 2022; 9(1). doi:10. 1177/20551029211055264

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023