การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวระยะท้าย: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กุลิสรา ขุนพินิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิยะการ แสงหัวช้าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพยาบาลแบบประคับประคอง, ภาวะหายใจล้มเหลวระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

บทนำ: พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลแบบประคับประคอง โดยเน้นการดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคมและจิตวิญญาณ คำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ และการดูแลครอบครัวหลังผู้ป่วยเสียชีวิต

วิธีการศึกษา: ศึกษาการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วย 1 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์และข้อมูลจากเวชระเบียน แล้วนำมาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัย และวางแผนกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวระยะท้าย

ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ชายสูงอายุวัย 69 ปี มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มาประมาณ 20 ปี เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ด้วยอาการ มีไข้ หนาวสั่น ซึม เรียกไม่รู้ตัว หายใจเหนื่อยหอบ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยมีภาวะหายใจล้มเหลวระยะสุดท้าย ได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็ว และเหมาะสม พยาบาลได้ให้การดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคอง โดยเน้นให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวโรค การพยากรณ์ของโรค การรักษา  และเข้าใจถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงจากการรักษา การดูแลจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ

บทสรุป: การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวระยะสุดท้ายเป็นงานที่ท้าทายสำหรับพยาบาล การให้การรักษาครบทุกอย่างอาจไม่ได้เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย การเลือกการรักษาที่เหมาะสมตรงตาม ความต้องการของผู้ป่วย อาจเป็นแนวทางการรักษาที่ดีและเหมาะกับผู้ป่วย

References

สุนิสา เดชพิชัย และจิราภรณ์ ชุวงศ์. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ: กรณีศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2020;3(2):207-23.

นิตยา ทรัพย์วงศ์เจริญ และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล.บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(1):26-34.

เพ็ญศิริ มรกต, กิตติกร นิลมานัต และ เยาวรัตน์ มัชฌิม. การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม. 2556;4(1), 90-97.

Chan LM, Ng SC. Prevalence and correlates of caregiver anxiety in family caregivers of patients with advanced cancer: A cross-sectional study in a palliative care unit in Hong Kong. East Asian Archives of Psychiatry. 2022;32(2):27-33.

Alam S, Hannon B, Zimmermann C. Palliative care for family caregivers. Journal of Clinical Oncology. 2020;38(9):926-36.

ฐิติ ศรีเจริญชัย, ณรงค์กร ซ้ายโพธิกลาง, พิชญาภา รุจิวิชชญ์, และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โรคระบบการหายใจพื้นฐาน. กรุงเทพ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และ ชวนพิศ ทำนอง (บรรณาธิการ). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 9. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2559.

พัชรีย์ พรหมสิงห์, ภาวนา กีรติยุตวงศ์ และ วัลภา คุณทรงเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาลวิชาชีพ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2559;22(3),278-92.

วิจิตรา กุสุมภ์ (บรรณาธิการ). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ: สามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์, 2560.

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยประคับประคองที่มารับการรักษาที่คลินิกประคับประคอง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2563;16(1),70-81.

ปัทมพร แสงแก้ว, จุฑามาศ อินทร์ชัย, พนิดา ชนะญาติ และ เฉลิม ลิ่วศรีสกุล. การรักษาภาวะระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลันชนิดขาดออกซิเจนโดยไม่มีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งด้วยออกซิเจนอัตราไหลสูงผ่านทางจมูกเพื่อป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง: งานวิจัยแบบสุ่ม. เชียงใหม่เวชสาร. 2563;59(3):127-36.

กาญจนา ประเสริฐ. การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา 2 ราย. ยโสธรเวชสาร. 2565;24(1):116-24.

ชุติมา เทียนทอง ศรีเวียง ไพโรจน์กุล ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(4), 469-473.

Isenberg SR, Killackey T, Saunders S, Scott M, Ernecoff NC, Bush SH, Varenbut J, Lovrics E, Stern MA, Hsu AT, Bernstein M. “Going Home [Is] Just a Feel-Good Idea With No Structure”: A Qualitative Exploration of Patient and Family Caregiver Needs When Transitioning From Hospital to Home in Palliative Care. Journal of Pain and Symptom Management. 2021;62(3):9-19.

Patra L, Ghoshal A, Damani A, Salins N. Cancer palliative care referral: patients’ and family caregivers’ perspectives–a systematic review. BMJ Supportive & Palliative Care. 2022;21,1-7.

Valero-Cantero I, Casals C, Carrión-Velasco Y, Barón-López FJ, Martínez-Valero FJ, Vázquez-Sánchez MÁ. The influence of symptom severity of palliative care patients on their family caregivers. BMC Palliative Care. 2022;21(1):1-7.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และรัชณีย์ ป้อมทอง. บทบาทพยาบาล: กรณีศึกษาการดูแลด้านจิตใจ ของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(1), 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023