ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ณิชกุล พิชาชาญ อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • กิตติพงษ์ สอนล้อม อาจารย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริภัททรา จุฑามณี อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, พัฒนาการเด็ก, ปัจจัย

บทคัดย่อ

บทนำ: พัฒนาการที่ไม่สมวัยหรือล่าช้าในเด็กปฐมวัยถือว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ

วิธีการศึกษา: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยสืบค้นบทความจากฐานข้อมูลอิเลกทรอนิค PubMed, google scholar และ Thai Journal online ที่ได้รับการตีพิมพ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2565 และได้นำบทความมาประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานงานวิจัยโดยใช้เกณฑ์การประเมินของฮิลเลอร์และคณะ1 พบบทความที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 15 บทความ

ผลการวิจัย: พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย คือ 1) ปัจจัยด้านมารดา ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ครอบครัว การฝากครรภ์ การได้รับยาธาตุเหล็กเสริมไอโอดีนระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา การเจ็บป่วยหรือใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ โรคประจำตัว ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ของมารดา การให้นมบุตร และความกังวลของบิดามารดาต่อพัฒนาการของเด็ก 2) ปัจจัยด้านเด็ก ได้แก่ น้ำหนักแรกคลอดของทารก เพศ อายุของเด็ก ระยะเวลาการกินนมแม่ การคลอดก่อนกำหนด การมีโรคประจำตัว มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด การรับธาตุเหล็กเสริม และพื้นอารมณ์เป็นเด็กกลุ่มเลี้ยงยาก 3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู การเล่านิทาน ระยะเวลาในการดูโทรทัศน์ และการเล่นเกมคอมพิวเตอร์/เล่นเกมมือถือ การจัดการเรียนรู้ การเล่นกับเด็ก และการอ่านหนังสือสุขภาพเด็กของผู้ดูแล

สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ ปัจจัยด้านมารดา เด็ก และสิ่งแวดล้อม บุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงควรนำข้อค้นพบนี้เป็นแนวทางในการวางแผนและวิจัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เหมาะต่อไป

References

Heller, R.F., Verma, A., Gemmell, I., Harrison, R., Hart, J., & Edwards, R. Critical appraisal For public health: a new checklist. Public Health. 2008;122:92-98. doi:10.1016/j.puhe.2007.04.012

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2563.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). การสำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยhttps://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50 สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565.

สถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ กรมอนามัย. การทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยระดับประเทศ. 2565.

กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ เด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. 2561.

https://www.cgtoolbook.com/books003/ สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565

พูนศิริ ฤทธิรอน ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก ปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14: 42-56.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถและ บุษบา อรรถาวีร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5. วารสารเกื้อการุณย์. 2563; 27: 59-70.

รวี ศิริปริชยากร และขวัญใจ จริยาทัศน์กร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครนายก ตามการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ.วารสารวิจัย มสด. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562; 14: 92-109.

ดลจรัส ทิพย์มโนสิงห์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2565; 17: 51-67.

สิริรัตน์ จัตกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัยในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2564; 13: 87-102.

ชัชฎา ประจุดทะเก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2561; 12: 5-19.

สกาวรัตน์ เทพรักษ์, ภภัสสร มุกดาเกษม, จรรยา สืบนุช และ จารุณีจตุรพรเพิ่ม. การศึกษาปัจจัยด้านการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2560; 11: 21-42.

สุพัตรา บุญเจียม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2564; 13: 3-20.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราชนครินทร์ สาขามนุษย์สาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561; 5: 161-171.

ขวัญข้าว ต่วนชื่น. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางภาษาล่าช้าในเด็กอายุ 1–5 ปี ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565; 41: 669-680.

ณัฐวิภา วาณิชย์เจริญ และพงษ์ศักดิ์น้อยพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาใน เด็กปฐมวัยที่หน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล : การศึกษาแบบจับคู่ย้อนหลัง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2562; 63: 423-442.

เมตตา ลิมปวราลัย, ลัดดาวัลย์ กลิ่นลำดวนและ วรพรรณ มหาศรานนท์. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านการใช้ภาษาสมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดสุโขทัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2562; 13: 78-90.

Rithipukdee N, Kusol K. Factors Associated with the Suspected Delay in the Language Development of Early Childhood in Southern Thailand. Children (Basel). 2022; 9: 662. doi: 10.3390/children9050662. PMID: 35626839; PMCID: PMC9139734.

Venancio, S. I., Teixeira, J. A., de Bortoli, M. C., & Bernal, R. T. I. Factors associated with early childhood development in municipalities of Ceará, Brazil: a hierarchical model of contexts, environments, and nurturing care domains in a cross-sectional study. The Lancet Reg Health Am, 2022; 5, 100139.

Taylor, C. L., Christensen, D., Stafford, J., Venn, A., Preen, D., & Zubrick, S. R. Associations between clusters of early life risk factors and developmental vulnerability at age 5: a retrospective cohort study using population-wide linkage of administrative data in Tasmania, Australia. BMJ open. 2020; 10; e033795.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023