ผลการรักษาฟื้นฟูสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุไร้ฟันด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก
คำสำคัญ:
การรักษาช่องปาก, ฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุไร้ฟัน, ฟันเทียมทั้งปากบทคัดย่อ
บทนำ: การใส่ฟันเทียมทั้งปากในผู้สูงอายุ จะเป็นการฟื้นฟูหน้าที่ของฟัน และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงอนุมาน เพื่อศึกษาผลการรักษาฟื้นฟูสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุไร้ฟันด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุไร้ฟันที่ใส่ฟันเทียมปี 2561-2565 จำนวน 178 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพทางคลินิกฟันเทียม ความพึงพอใจ คุณภาพชีวิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจีสติก
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.4 อายุเฉลี่ย 71.2 ปี เลิกใช้ฟันเทียม จำนวน 24 คน ร้อยละ 13.5 พบปัญหาฟันเทียมขาดการยึดอยู่ ร้อยละ 18.5 ฟันเทียมไม่เสถียร ร้อยละ 23.0 การสบฟัน ร้อยละ 10.7 ความสะอาดของฟัน ร้อยละ 11.2 ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ฟันเทียมมีผลต่อคุณภาพชีวิต (>0-10) ร้อยละ 25.3 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลิกใช้ฟันเทียมทั้งปาก ได้แก่ ลำดับชุดฟัน (OR 2.06: 95%CI 1.97-4.13) การยึดอยู่ (OR 1.14: 95%CI 1.10-1.85) ความเสถียร (OR 2.28: 95%CI 2.99-5.24) การสบฟัน (OR 1.22: 95%CI 1.01-1.36) คุณภาพชีวิต (OR 0.89: 95%CI 0.32-0.94) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (OR 2.09: 95%CI 1.94-2.58)
สรุป: ควรจัดบริการเชิงรุก สนับสนุน ติดตามผลการใช้งานฟันเทียมเป็นระยะทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใส่ฟันเทียม การให้คำแนะนำ และปรับปรุงข้อกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนฟันเทียมชุดใหม่ให้เหมาะสมในแต่ละกรณี
References
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพชองปากระดับประเทศ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพองคการสงเคราะห์ทหารผานศึก; 2564.
National Oral Health Plan for Thai Elders. In: Bereau of Dental Health DoH, Ministry of Public Health, editor; 2014.
Glick M, Williams DM, Kleinman DV, Vujicic M, Watt RG, Weyant RJ. A new definition for oral health developed by the FDI World Dental Federation opens the door to a universal definition of oral health. J Am Dent Assoc 2016;147(12):915-7.
ศิริพร ศรีบัวทอง. การติดตามผลการใช้ฟันเทียมเมื่อเวลา 5 ปี ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน : กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5; 34(1): 80-91.
Bilhan H, Geckili O, Ergin S, et al. Evaluation of satisfaction and complications in patients with existing complete dentures. J Oral Sci 2013 ;55(1):29-37.
Gosavi SS, Ghanchi M, Malik SA, et al. A survey of complete denture patients experiencing difficulties with their prostheses. J Contemp Dent Pract 2013; 14(3):524-7.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. รายงานประจําปี 2565. ลพบุรี : โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช; 2565.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์; 2557.
Adulyanon S, Sheiham A. Oral impacts on daily performances. In G. D. Slade (Ed.), Measuring oral health and quality of life. Chapel Hill: University of North Carolina, 1997.
Wolff A, Gadre A, Begleiter A, Moskona D, Cardash H. Correlation between patient satisfaction with complete dentures and denture quality, oral condition, and flow rate of submandibular/ sublingual salivary glands. Int J Prosthodont 2003;16(1):45-8.
Hussain AI. Lifetime of Complete Dentures. Al- Anbar Med J 2014;7(1):138-43.
เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์, จิราพร เขียวอยู่ และวิลาวัลย์ วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษาในเขตอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29 (4): 339-344.
Boonmekhao P. Oral Health-related Quality of Life and patient satisfaction to the prosthodontic treatment at Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013.
Limpuangthip N, Somkotra T, Arksornnukit M. Modified retention and stability criteria for complete denture wearers: A risk assessment tool for impaired masticatory ability and oral health-related quality of life. J Prosthet Dent 2018;120(1):43-9
Srisilapanan P, Sheiham A. The prevalence of dental impacts on daily performances in older people in Northern Thailand. Gerodontology 2001;18(2):102-8.
Limpuangthip N. Denture quality, patient satisfaction, Oral Health-related Quality of Life, and their association [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2017.
Setthaworaphan P, Thitasomakul S, Daosodsai P. Oral Health related Quality of Life among elderly complete denture wearers and its associations with denture quality and masticatory efficiency assessed by the Thai version of OHIP-EDENT. J Dent Assoc Thai 2014;64(1):27-46.
Alfadda SA, Al-Fallaj HA, Al-Banyan HA, Al-Kadhi RM. A clinical investigation of the relationship between the quality of conventional complete dentures and the patients’ quality of life. Saudi Dent J 2015;27(2):93-8.
Chen YF, Yang YH, Chen JH, Lee HE, Lin YC, Ebinger J, et al. The impact of complete dentures on the oral health-related quality of life among the elderly. J Dent Sci 2012;7(3):289-95.
สถาพร จันทร. คุณภาพชีวิตที่สัมพันธกับสุขภาพของผูสูงอายุในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา, วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13:158-67.
Perea C, Suarez-Garcia MJ, Del Rio J, Torres-Lagares D, Montero J, Castillo-Oyague R. Oral health-related quality of life in complete denture wearers depending on their socio-demographic background, prosthetic-related factors and clinical condition. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2013;18(3):371-80
Jacobson TE, Krol AJ. A contemporary review of the factors involved in complete denture retention, stability, and support. Part I: retention. J Prosthet Dent 1983;49(1):5-15. 378 J DENT ASSOC THAI VOL.69 NO.4 OCTOBER - DECEMBER 2019
Jacobson TE, Krol AJ. A contemporary review of the factors involved in complete dentures. Part II: stability. J Prosthet Dent 1983;49(2):165-72.
อุดมพร ทรัพย์บวร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบล นครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต4-5 2561; 37(4): 306-317.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว