การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดและการสวนหลอดเลือดสมอง เพื่อเอาลิ่มเลือดออก: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ยาละลายลิ้มเลือด, การสวนหลอดเลือดสมองเพื่อเอาลิ่มเลือดออก, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
บทนำ: โรคหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทและหลอดเลือดสมอง ที่ทำให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วนโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมง การให้ยาแอสไพรินภายใน 48 ชั่วโมง การทำหัตถการสวนหลอดเลือดสมองเพื่อเอาลิ่มเลือดออกภายในเวลา 6 ชั่วโมง และการทำผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองบวมใน 48 ชั่วโมง สามารถลดอัตราตายและความพิการได้ บทความนี้เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่ได้รับยาละลายลิ้มเลือด และการทำหัตถการสวนหลอดเลือดสมองเพื่อเอาลิ่มเลือดออก
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 1 ราย ระยะเวลา 22 วัน จากแบบบันทึกข้อมูล เวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การโทรเยี่ยมติดตามอาการ
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติเป็นโรคไขมันในหลอดเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาละลายลิ้มเลือดและการทำหัตถการสวน หลอดเลือดสมองเพื่อเอาลิ้มเลือดออก หลังจากกการรักษาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและช่วยเหลือตัวเองได้แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้าน รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 11 วัน
สรุป: จากการศึกษาผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาด้วยยา ได้รับยา Thrombolytic และการทำหัตถการ Mechanical Thrombectomy หลังการรักษาผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น เข้าสู่โปรแกรมการฟื้นฟูของนักกายภาพบำบัด ทีมแพทย์จึงวางแผนจำหน่ายและนัดตรวจติดตามอาการ 1 สัปดาห์ ก่อนกลับบ้าน ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี E4V5M6 pupil 3mm. RTLBE Motor power แขนขวาเกรด 4, ขาขวาเกรด 5, แขนขาซีกซ้ายเกรด 5 Barthel Index of ADL (activity of daily living) = 75 คะแนน, Modified Rankin scale = 2 คะแนน การศึกษานี้จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับยาละลายลิ้มเลือดและการทำหัตถการสวนหลอดเลือดสมองเพื่อเอาลิ่มเลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2557). การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส..
เกรียงศักดิ์ ลิ้มพัสถาน. (2555). โรคหลอดเลือดสมอง Cerebrovascular diseases (พิมพ์ครั้งที่ 2).
ดวงพร คงเปี่ยม. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด Nursing care of the ischemic stroke patients with thrombolysis. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 2 (ฉบับที่ 2), หน้า 51-53.
นิจศรี ชาญณรงค์(สุวรรณเวลา). (บรรณาธิการ). (2552). การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพิมล มาศสกุลพรรณ. (บรรณาธิการ).(2559). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับปรับปรุงครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563).คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์อัมพาต) สำหรับประชาชน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.
สุธาสินี มั่นจิรานุวัฒน์. (บรรณาธิการ). (2558). แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Best practice in stroke Management. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส
อรอุมา ชุติเนตร และนิจศรี ชาญณรงค์. (2554). Thrombolytic therapy and thrombectomy ในดิษยา รัตนากรและคณะ (บรรณาธิการ) Current practical guide to stroke management. กรุงเทพ ฯ: สมาคมโรคเลือดสมองไทย
World Health Organization. (2004). Definition of stroke. Retrieved fromสืบค้นเมื่อ 2เมษายน2565 จาก http://www.emro.who.int/health-topics/stroke-cerebrovascular-accident/
American Heart Association American Stroke Association. (2019). Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018
Guidelines for the Early Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals, Volume 50 (Issue 12). doi.org/10.1161/STROKEAHA.119.027708
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว