ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
บทนำ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความรู้ ระดับของทัศนคติ และความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอหนองขาหย่าง จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความรู้ด้านการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แบบสอบถามทัศนคติด้านการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียรสัน
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับของความรู้อยู่ในระดับสูง มีระดับของทัศนคติอยู่ในระดับสูง และปัจจัยด้านความรู้ มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง (r = 0.262, p-value < 0.05) ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง
สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตเครือข่ายอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับสูง ซึ่งผลการศึกษานี้พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถนำไปวางแผนการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กัลยา ทิพราช และคณะ. (2552). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. สารนิพนธ์การวิจัยสุขภาพ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กาญจนา ปัญญาเพ็ชร และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง. (บทความวิจัย, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 31(3), 151-163.
กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2563). คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2560). อยู่อย่างไรให้ไกลเบาหวาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ (2548). ความรู้เรื่องเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
มาโนชญ์ แสงไสยาศน์. (2564) พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. (บทความวิจัย, วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต.) 1(3), 59-70.
มนรดา แข็งแรง และคณะ. (2560). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี. (บทความวิจัย, วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง และยั่งยืน” 2(1), 968-980.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (2544). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
หลิน เจียหง. (2559). ชีวิตยังหวาน ของคนเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว