กรณีศึกษา: การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอดที่ใช้สารเสพติด
คำสำคัญ:
การตกเลือดหลังคลอด, การใช้สารเสพติดบทคัดย่อ
บทนำ: การเสพสารเสพติดในสตรีตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งยาบ้า หรือ เมทแอมเฟตามีน เป็นสารเสพติดที่พบว่ามีการใช้เพิ่มมากขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการเพิ่มภาวะครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนด ทารกโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดน้ำหนักตัวน้อยเกิดภาวะรกเสื่อม และเกิดการตกเลือดหลังคลอดได้สูง สาเหตุเกิดจากฤทธิ์ของยาเอง ร่วมกับการที่มารดามักมีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่มีการฝากครรภ์ มีการติดเชื้อต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้แล้วยากลุ่มแอมเฟตามีนยังสามารถผ่านสู่นมแม่ได้ ทำให้ทารกเกิดความเสี่ยงต่อการได้รับสารในกรณีที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อเกิดภาวะตกเลือดทำให้เกิดการสูญเสียเลือดปริมาณมากส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ขาดออกซิเจนและเสียสมดุล โดยเฉพาะสมองส่วนไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมองที่ส่งผลต่อฮอร์โมนสำคัญ ในระยะหลังคลอด ถ้าได้รับการรักษาที่ล่าช้าจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ Sheehan’s syndrome โลหิตจางรุนแรง ช็อก ทุพพลภาพ และเสียชีวิตได้
วิธีการศึกษา: ศึกษาการพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอดที่ใช้สารเสพติด 1 ราย ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ สังเกต และข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยแล้วนำมาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ระบุกิจกรรมการพยาบาลและ ประเมินผลตามกระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา: พบว่ามารดาที่ใช้สารเสพติด หรือยาบ้านั้น มีความเสี่ยงสูงต่อการตกเลือดหลังคลอด หรืออาจกล่าวได้ว่าการเสพยาบ้าเป็นปัจจัยชักนำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอดสูง เมื่อเกิดการตกเลือดหลังคลอดทำให้เสี่ยงต่อภาวะช็อค และการเสียชีวิตได้ในการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลสามารถประเมินการตกเลือดหลังคลอด และค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้อย่างรวดเร็ว และมีการเตรียมความพร้อมของเลือดและอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้อย่างเพียงพอ จนสามารถช่วยชีวิตมารดาตกเลือดหลังคลอดได้ และทารกปลอดภัยไม่ได้รับสารเสพติดจากมารดา ไม่เกิดภาวะถอนยา แต่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวน้อย ร่างกายแข็งแรงดี ดูดนมผสมได้ มารดาและทารกได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลสิงห์บุรีจำนวน 4 วัน แพทย์จึงอนุญาตให้กลับไปอยู่บ้านได้
บทสรุป: การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอดที่ใช้สารเสพติด พยาบาลมีส่วนสำคัญในการค้นหาปัญหา ประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดตั้งแต่แรกรับ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ในการประเมินการตกเลือดหลังคลอดของมารดา สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงช่วยให้การวางแผนการรักษามีความรวดเร็ว ทันเวลามีประสิทธิภาพ ช่วยให้มารดาและทารกมีความปลอดภัย ครอบครัวมีความมั่นใจ บรรลุเป้าหมายลูกอยู่รอดแม่ปลอดภัย และช่วยให้การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลมีความยั่งยืน
References
Substance Abuse and Mental Health Services Administration, Results from the 2010 National Survey on Drug Use and Health: Summary of national findings: NSDUH Series H-41, DHHS Publication No. SMA. 2011: 46-58.
Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Perinatal effects of amphetamine and heroin use during pregnancy on the mother and infant. J Med Assoc Thai. 2005; 88: 1506-13.
Thamkhantho M, Obstetric Outcomes of Amphetamine Misapplication duration Pregnancy. J Med Assoc Thai. 2018; 101: 1680-5.
Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Impact of prenatal illicit drug exposure on the mother and infant. Chula Med J. 2004; 48: 235-45.
Wright, T. E., Schuetter R, Tellei J, Sauvage L. Methamphetamines and pregnancy outcomes. J Addict Med. 2015; 9: 111-7
Terplan, M., Smith, E. J., Kozloski, M. J., Pollack, H. A Methamphetamine use among pregnancy women. Obstetrics & Gyneology. 2009; 113(6), 1285-1291.
มานัส โพธาภรณ์. เสพยาขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งแม่และเด็ก. วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2565.สืบค้นจาก https://www.thaihelth.or.th/?p=234832
World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data. 2012.
กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนัก นโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. 2557.
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ประจำปี 2563-2565. โรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2563-2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว