การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุด้วยระบบ Telehealth : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานบริษัทในเครือบริษัทสากลธุรกิจเลิศรวมมิตร จำกัด
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

Telehealth, การเพิ่มศักยภาพการบริการ, การดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ในการดูแลผู้สูงอายุในยุคปัจจุบันนี้ ที่มีการแข่งขันที่กำลังเริ่มต้น เพราะประเทศไทยเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของประเทศ หนึ่งในยุทธศาสตร์แห่งชาติที่ทางรัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาดการให้บริการทางด้านสาธารณสุข สถานพยาบาล และบ้านพักคนชรา เพื่อรองรับทั้งผู้ป่วยและผู้สูงวัยในประเทศไทยและตลาดจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยในการบริการแก่ผู้ป่วยและผู้สูงวัย ให้มีความน่าสนใจของผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการ หรือผู้สูงอายุที่ต้องการหาที่พักพิงยามเกษียณอายุ นอกจากความสะดวกสบายในด้านที่พักแล้ว “การบริการด้านกายภาพบำบัด” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการช่วยให้ผู้สูงอายุเหล่านั้น เข้ามาใช้บริการด้วยเช่นกัน ในสังคมไทยก่อนที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ปรากฏการณ์การขาดแคลนนักกายภาพบำบัด อีกทั้งมีความต้องการของตลาดแรงงานสูงมาก ทำให้นักกายภาพบำบัดมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในขณะที่อัตราการว่างงานของสตรีชาวไทยส่วนใหญ่ที่เป็นไปตามจารีตประเพณี ที่เมื่อแต่งงานแล้ว มักจะหยุด ทำงานและเฝ้าอาศัยเลี้ยงดูบุตรหลานและครอบครัวเท่านั้น แม้กลุ่มสตรีดังกล่าวจะมีความต้องการหางานทำ แต่ก็ยากที่จะเสาะหาตำแหน่งงานที่เหมาะสม  ดังนั้นหากสามารถสร้างนวัตกรรมในการใช้ร่วมกับอาชีพ เพื่อเป็นการเสริมความรู้ในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม จึงควรจะเร่งเสาะหาวิธีการหรือวิชาการที่มีนวัตกรรมใหม่ ในการจูงใจให้แก่กลุ่มสตรีเหล่านั้นหันมาสนใจ ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน “การเรียนรู้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีระบบ Telehealth” (โทรสุขภาพ) การให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศทางไกล เพื่อใช้มาเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มศักยภาพให้บริการแก่ผู้สูงอายุ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

References

(Batalik et al., 2021; Brennan et al., 2022; Bywood, Raven, Butler, & Service, 2013; Clark & Kelliher, 2021; Inskip et al., 2018; Kaambwa et al., 2017; Ottomanelli et al., 2021; Stickland et al., 2011)

Batalik, L., Pepera, G., Papathanasiou, J., Rutkowski, S., Líška, D., Batalikova, K., . . . Dosbaba, F. J. J. o. C. M. (2021). Is the training intensity in phase two cardiovascular rehabilitation different in telehealth versus outpatient rehabilitation? , 10(18), 4069.

Brennan, L., Sadeghi, F., O’Neill, L., Guinan, E., Smyth, L., Sheill, G., . . . Connolly, D. J. C. (2022). Telehealth Delivery of a Multi-Disciplinary Rehabilitation Programme for Upper Gastro-Intestinal Cancer: ReStOre@ Home Feasibility Study. 14(11), 2707.

Bywood, P., Raven, M., & Butler, C. (2013). Telehealth in primary health care settings within Australia and internationally. Adelaide: Primary Health Care Research & Information Service.

Juliet Clark and Aisling Kelliher. 2021. Understanding the Needs and Values of Rehabilitation Therapists in Designing and Implementing Telehealth Solutions. In CHI Conference on Human Factors in Computing Systems Extended Abstracts (CHI '21 Extended Abstracts), May 8–13, 2021, Yokohama, Japan. ACM, New York, NY, USA 6 Pages. https://doi.org/10.1145/3411763. 3451704Inskip, J., Lauscher, H. N., Li, L., Dumont,

G., Garde, A., Ho, K., . . . Camp, P. J. C. r. d. (2018). Patient and health care professional perspectives on using telehealth to deliver pulmonary rehabilitation.PMCID: PMC5802656 DOI: 10.1177/ 1479972317709643

Kaambwa, B., Ratcliffe, J., Shulver, W., Killington, M., Taylor, A., Crotty, M., . . . telecare. (2017). Investigating the preferences of older people for telehealth as a new model of health care service delivery: a discrete choice experiment. Soc Sci Med 23(2), 301-313.

Ottomanelli, L., Cotner, B. A., Njoh, E., O’Connor, D. R., Jones, V. A., Smith, B. M., . . . Levy, C. J. F. P. (2021). Veteran and provider perspectives on telehealth for vocational rehabilitation services. FEDERAL PRACTITIONER.3, e32-36.

Stickland, M. K., Jourdain, T., Wong, E. Y., Rodgers, W. M., Jendzjowsky, N. G., & MacDonald, G. F. J. C. r. j. (2011). Using Telehealth technology to deliver pulmonary rehabilitation to patients with chronic obstructive pulmonary disease. Canadian Respiratory Journal 18(4), 216-220.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022