การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอประจำบ้าน ในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • รำพึง นุ่มสารพัดนึก กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อสม.หมอประจำบ้าน, พฤติกรรมควบคุมป้องกันโรค

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศและมีการระบาดทั่วประเทศไทยและในจังหวัดนครนายก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงาน สร้างรูปแบบ และประเมินผลการพัฒนาศักยภาพของ อสม.หมอประจำบ้านในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง อสม.หมอประจำบ้าน ประธาน อสม.หมอประจำบ้าน และผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนของจังหวัดนครนายก จำนวน 428 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวทางการสนทนากลุ่ม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.60-0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ dependent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา: หลังได้รับการพัฒนาศักยภาพ อสม.หมอประจำบ้าน มีความรู้เพิ่มขึ้นจาก 13.70 เป็น 18.40 คะแนน มีทัศนคติเพิ่มขึ้นจาก 16.40 เป็น 25.20 คะแนน และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นจาก 20.10 เป็น 30.40 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001

สรุปผลการศึกษา: รูปแบบการพัฒนาศักยภาพ อสม.หมอประจำบ้านที่สร้างขึ้นสามารถช่วยส่งเสริมให้มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มสูงขึ้น

References

World Health Organization. WHO Director- General’s remarks at the media briefing on 2019-nCoV.. [Internet]. [Retrieved February 11, 2022, from https://www.who.int /dg/ speeches/detail/who-director-general-s-remarks-at-the-media-briefingon-2019-ncov-on-11-february-2022.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.นนทบุรี: โรงพิมพ์ทหารผ่านศึก; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. สรุปสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. นครนายก; 2564.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางปฏิบัติสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการติดตามสังเกตอาการผู้ถูกกักกันบริเวณ ณ ที่พักอาศัย (home quarantine). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน; 2563.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู, กชกร ฉายากุล. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2563, 12(3): 195-212.

ปราณี สังขะตะวรรธน์ และ สิริวรณ ศรีพหล. ประมวลสาระการพัฒนาหลักสูตรและวิทยวิธีทางการสอน หน่วยที่ 1-2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2536.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. การสร้างพลัง. วารสารเพื่อสุขภาพ (ฉบับพิเศษ) 2540; 18-20.

Kemmis, S. & McTaggart, R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.

กษิรา นิติธนนันต์ และคณะ. องค์กรที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดปัจจัย 7 ประการของ McKinsey. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 2563, 13(3); 159-167.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี และ ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี - Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564, 30(1); 53-61.

รัชนี เต็มอุดม, ศิริลักษณ์ ใจช่วง, กรกพร ไทรสุวรรณ์, พเยาวดี แอบไธสง และ บารเมษฐ์ ภิราล้ำ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564, 28(1); 1-13.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับโควิด-19 ของบุคลากรทีมสุขภาพ. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2563; 7(1);7-24.

อรณัส ยวงทอง. ประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการแพทย์เขต 11 2557, 28(3); 629-35.

พิษณุรักษ์ กันทวี. ประเมินผลโครงการสร้างความตระหนัก และเตรียมความพร้อมสำหรับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ตามแนวพรมแดนไทย– ราชอาณาจักรกัมพูชา – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สาธารณรัฐแห่งสหภาพ-เมียนมา ปีงบประมาณ 2558-2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563, 14(1); 51-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022