การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพอำเภอท่าวุ้ง

ผู้แต่ง

  • บำรุง วงษ์นิ่ม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, การสื่อสารสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, กระบวนการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทนำ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นสื่อกลางด้านการสื่อสารสุขภาพที่สำคัญในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขแต่ยังขาดการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคของการสื่อสารสุขภาพ อสม. อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอสม.

วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research) พื้นที่วิจัยคืออำเภอท่าวุ้ง  จังหวัดลพบุรีเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีบุคลากรสาธารณสุขให้ความสนใจในการพัฒนาสมรรถนะ อสม. การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาเรื่องการสื่อสารสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากการปฏิบัติงานของ อสม. ดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้จัดการเครือข่ายหน่วยบริการ และ อสม. ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารสุขภาพของ อสม. ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา และแนวทางดำเนินการโดยประชุมร่วมกันระหว่างผู้วิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ผู้จัดการทีมเครือข่ายสุขภาพ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลผู้จัดการการดูแล และ อสม. ด้วยการวิเคราะห์ร่วมกันด้วยคำถาม 4W1H ระยะที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน เพื่อสร้างสมรรถนะการสื่อสารสุขภาพของ อสม. โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากระยะที่ 2 ไปทดลองใช้กับ อสม.ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างน้อย 2 ปี โดยการดำเนินงานตามแผนและประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารสุขภาพของ อสม.

ผลการศึกษา: พบว่า จุดแข็งของ การทำงานด้านการสื่อสารด้านสุขภาพของ อสม. คือ อสม.เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และ อสม. มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเนื่องพื้นที่มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งนี้อุปสรรคในการทำงานด้านการสื่อสารด้านสุขภาพของอสม.คือ อสม. ขาดทักษะที่จะทำให้ประชาชนนั้นเข้าใจ เห็นความสำคัญในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ การป้องกันโรค และขาดแนวทางอบรมทักษะในการสื่อสารสุขภาพ สำหรับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพของอสม.ดำเนินการในกลุ่ม อสม. ที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และกำหนดให้ อสม. ที่ผ่านการอบรมความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งกิจกรรมเน้นการฝึกทักษะและประเมินสมรรถนะของการสื่อสารสุขภาพภายหลังการปฏิบัติจริง ซึ่งรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพได้นำไปทดลองใช้ พบว่า ภายหลังผ่านการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพ อสม.ที่เข้าร่วมโปรแกรม มีสมรรถนะด้านการสื่อสารทั้งด้านกระบวนการสื่อสารและการใช้ทักษะการสื่อสารสุขภาพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพของ อสม. ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดความรุนแรงของโรคได้

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน.คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อยกระดับ อสม. เป็น อสม.หมอประจำบ้าน. 2550

วินัย แก้วพรหม. ความคาดหวังต่อบทบาทและการปฏิบัติงานจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานสาธารณสุขมูลฐาน ตามทัศนะของประชาชนในตำบลโพธิ์ไทยอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี.[วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสขุ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. กรงเทพฯ: บริษัท ดีไซรจํากัด; 2547.

วาสนา จันทร์สว่าง. การสื่อสารสุขภาพ: กลยุทธ์ในงานสุขศึกษาและการสร้างเสริมสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2550.

สุวภัทร นักรู้ กำพลพัฒน์ นิชนันท์ สุวรรณกูฏและอมรรัตน์ นธะสนธิ์. ศึกษาประสบการณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน.วารสารวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2558; 21:103-109.

Kreps, Gary L., & Thornton, Barbara C. Health Communication: Theory & Practice.

nd ed. Illinois: Waveland Press; 1992.

ชนิดา เตชะปัน. โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในการดำเนินงาน ด้านสุขศึกษาในชุมชนในเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่; 2561.

ยุพา พูลสวัสดิ์. โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านด้านการใช้ยาที่บ้านในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในจังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

กฤษภากร เจริญสุข. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านืเทศบาลเมืองสิงห์บุรีทจ.สิงห์บุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2564;30:72-90.

สมใจ วินิจกุล. อนามัยชุมชน: กระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :

พันนีพับบลิซิ่ง ; 2550.

สุทธิพงษ์ ภาคทอง. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพ ผู้นำ อสม.ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยแลพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13:492-501.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

ชูชาติ ฝั้นเต็ม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ระดับตำบลของจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2565.

ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์,สุวิมล ตั้งประเสริฐ,นุชตรียา ผลพานิชย์,ปิยะมาศ สุรภพพิศิษฐ์,เมธี กีรติอุไร, นิรวิทย์เพียราษฎร์และคณะ. การพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022