ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพ ในพื้นที่อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐกรณ์ มูลฟู สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, ความเชื่อด้านสุขภาพ , โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ: อำเภอเมืองปานพบอัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2564 พบอัตราป่วย 263.81 ต่อแสนประชากร ผู้ที่ไม่สามารถ ควบคุมความดันโลหิตได้ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เปรียบเทียบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง มีกิจกรรมทั้งหมด 4 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบวัดการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson (correlation coefficient)

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มตัวอย่าง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p=0.01

สรุป: โปรแกรมนี้สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้โดยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างทักษะการดูแลตนเองของกลุ่มผู้ป่วย

References

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. โรคหลอดเลือดสมอง Availablefrom: https://www.bumrungrad.com/ th/betterhealth/2552/brain.../Reduce-your-stroke-risk. 2563.

สำนักงานนโยบายยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นสารวันรณรงค์อัมพาตโลกAvailable from: http://www. thaincd.com/2564.

คลังข้อมูลสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) Available. from:https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/admin/exchange_list.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. รายงานผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2558. 2559 1 เมษายน 2559. Report No.: 1.

วิไลพร พุทธวงษ์ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา.วารสารสาธารณสุขศาสตร์2557;44(1)30-45

สายสุนี เจริญศิลป์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์.(วิทยานิพนธ์).มหาวิทยาลัยนเรศวร.2564

Becker, M. H. The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs. 1974; 2(4): 324-508.

อำภรพรรณ ข้ามสาม. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลท่าข้าม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่; 2558.

Rosenstock, I. M. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs. 1974;2(4): 328-335.

Dempsey, P. A. & Dempsey, A. D. (1992). Data collection. In P. A. Dempsey and A. D.Dempsey (Eds.), Nursing Research with Basic Statistical Applications (pp.71- 89). Boston: Jones & Bartlet

กษมา เชียงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการรับรู้อาการเตือน และพฤติกรรมการจัดการโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ .บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่; 2554.

นพดล คำภิโล. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าอิสระ]: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

บุญพิสิฐษ์ ธรรมกุล. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตลาด เชิงสังคมร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูง ตำบลโนนสำราญอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2554.

ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์,ศิริพันธุ์ สาสัตย์.ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง.วารสารแพทย์นาวี.2560; 44:67-81

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022