การศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลท่าช้าง

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ ชมจันทร์ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 , ผลลัพธ์การดูแล

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลท่าช้างได้ถูกปรับเปลี่ยนบทบาทให้รับดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาถึงผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลท่าช้าง

วิธีการศึกษา:การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลท่าช้าง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยในทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลท่าช้าง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบบันทึกข้อมูลทางคลินิก และ 3) แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 927 ราย เป็นเพศชาย 433 ราย เพศหญิง 494 ราย มีอายุเฉลี่ย 34.94 ปี อาการที่พบ 5 ลำดับแรก ได้แก่ ไอ ไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอและจมูกไม่ได้กลิ่น ร้อยละ 89.96 ไม่เคยได้รับวัคซีน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85.97 มีค่า CT ณ วันที่ตรวจพบเชื้อโควิด – 19 อยู่ระหว่าง 0 - 30.00  ได้รับยา Favipiravior ร้อยละ 89.10 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายละ 50,119 บาท มีจำนวนวันนอนเฉลี่ย 10.98 วัน จำหน่ายกลับบ้าน 872 ราย ส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า 51 ราย ไม่สมัครใจรักษา 3 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปจัดระบบการบริการพยาบาลและปรับปรุงการบริการพยาบาลผู้ป่วยโควิด – 19 ตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยเชื่อมโยงถึงชุมชน

References

WHO.Coronavirus (COVID 19). 2565. เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565. เข้าถึงได้จาก / https://covid19.who.int/

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.รายงาน COVID -19 ประจำวัน ข้อมูลประเทศไทย.เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565 .เข้าถึงได้จาก /https://data.go.th/dataset/covid-19-daily

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผู้ป่วยโควิท-19.เข้าถึงเมื่อ 20 กพ.2565. เข้าถึงได้จาก/https://ddc.moph.go.th/index.php

บรรพต ปานเคลือบ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโรคโควิท -19 ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต. 2563. เข้าถึงเมื่อ 13มีนาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.vachiraphuket. go.th/articles/research/factors-related-to-symptoms-of-patients-covid-19-in-the-community- hospital-thalang-phuket/

เสาวภา ทองงาม, สุพิศตรา ภูมูลและรณิษฐา รัตนะรัต.การพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในหอผู้ป่วยแยกโรค โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช 2563; 13(3) : 222-231.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19. 2564. เข้าถึงเมื่อ 20 กพ.2565. เข้าถึงได้จาก/https://ddc.moph. go.th/index.php

สภาการพยาบาล. แนวทางการดูแลผู้ป่วย โควิด - 19.เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2565. เข้าถึงได้จาก/https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/fi1les/Covid-Update01042020.pdf

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการแยกผู้ป่วยที่บ้าน. 2564. เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2565. เข้าถึงได้จาก/https://ddc. moph.go.th/index.php

สุปิยา วิริไฟและพิมลดา ลัดดางาม. การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation): แนวทางการให้คำแนะนำผู้ติดเชื้อโควิด-19. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565; 16(2):597-611.

ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์. ค่ารักษาพยาบาลของโรคโควิด 19. Journal of The Department of Medical Services. 2564; 46(2): 5-9.

Royal Thai Government.แนวทางการปฏิบัติต่อผู้ป่วยกลุ่ม 608.เข้าถึงเมื่อ 6เมษายน 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.thaigov.go.th/ news/ contents/details/52614

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อโควิด -19.เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2565. เข้าถึงได้จาก/https://covid19. dms.go.th/Content/Select_Content_Grid_Home

รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ. การจัดการทางการพยาบาลในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาล.2564;70(3):64-71.

นุชรี จันทร์เอี่ยม, มาลีวรรณ เกษตรทัต, พรพิมล คุณประดิษฐ์และศศิประภา ตันสุวัฒน์. การบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลลำพูน. Journal of the Phrae Hospital 2564; 29(1):115-28.

ธีรพร สถิรอังกูร,ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล,ณิชาภา ยนจอหอและกนกพร แจ่มสมบูรณ์.การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. Journal of Health Science-วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2564; 30(2): 320-333.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022