การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มารับการผ่าตัดนิ่วในท่อน้ำดี ผ่านกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน

ผู้แต่ง

  • สายพิณ บัวสระ งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว, ความดันโลหิตสูง., นิ่วในท่อน้ำดี, กล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน

บทคัดย่อ

บทนำ: การผ่าตัดนิ่วในท่อน้ำดีผ่านกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางปาก     ผ่านหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร และสำไส้ส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็กแล้วฉีดสารทึบแสงพร้อมกับถ่ายภาพเอกชเรย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดี และตับอ่อน ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาระงับความรู้สึกขณะทำ จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับผลกระทบอย่างมากภายหลังการให้ยาระงับความรู้สึก ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในท่อน้ำดีผ่านกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน จึงต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน                                                                                                                            

วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มารับการผ่าตัดนิ่วในท่อน้ำดี ผ่านกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อนจำนวน  1 ราย ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ สังเกต และข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แล้วนำมาวิเคราะห์ประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ระบุกิจกรรมการพยาบาลและ ประเมินผล ตามกระบวนการพยาบาล                                                                         

ผลการศึกษา: พบว่าปัญหาก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว ผู้ป่วยมีอาการปวดจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่ เนื่องจากเกิด การอักเสบของท่อน้ำดี ผู้ป่วยไม่เคยมีประสบการณ์ในการผ่าตัดมาก่อนจึงมีความวิตกกังวล กลัวการผ่าตัด เมื่อถึงเวลาผ่าตัดและให้ยาระงับความรู้สึกเกิดภาวะแทรกซ้อนคือมีความดันโลหิตลดต่ำลงหลังผ่าตัดได้รับยาระงับความรู้สึก 24 ชั่วโมงผู้ป่วยมีภาวะท้องอืดแน่นจากการใส่ลมขณะผ่าตัด และเกิดการอักเสบของตับอ่อน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านหลังผ่าตัด 3 วัน รวมนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 12 วัน

สรุป: การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มารับการผ่าตัดนิ่วในท่อน้ำดี ผ่านกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อน วิสัญญีพยาบาลต้องมีความรู้ ความชำนาญ และความตื่นตัวตลอดเวลา ก่อนให้ยาระงับความรู้สึกต้องประเมินความเสี่ยงจากภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เตรียมผู้ป่วยให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ มีการวางแผนเตรียมยา สารน้ำ เลือด ส่วนประกอบของเลือด ให้การพยาบาลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนขณะให้ยาระงับความรู้สึก รวมถึงการจัดการความปวดหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย สุขสบาย ลดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึก

References

สรรชัย กาญจนลาภ. นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี. เวชสารแพทย์ทหารบก 2011; 64(1): 39-45.

Moller M, Gustafsson U, Rasmussen F, Persson G, Thorell A. Natural course vs interventions to clear common bile duct stones: data from the Swedish Registry for Gallstone Surgery and Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography (GallRiks). JAMA Surg 2014; 149(10): 1008–13

Ko CW, Lee SP. Epidemiology and natural history of common bile duct stones and prediction of disease. Gastrointest Endosc 2002; 56(6 Suppl): S165–9.

Montian Marytkornkul, Common bile duct stone extraction. Optimizing in surgicalendoscopy: Save simple and secure. 2014. 131-141.

งานเวชระเบียนและสถิติ. สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีประจำปี 2562 -2564 . โรงพยาบาลสิงห์บุรี; 2564.

Talukdar R. Complications of ERCP. Best Pract Res Clin Gastroenterol 2016;30(5): 793–805.

จักรวุฒิ วิริวงษ์. ค่าทำนายผลลบในการตรวจอัลตร้าซาวด์ตับและระบบท่อน้ำดีและผลตรวจค่าการทำงานของตับ ก่อนผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี กับการตรวจพบนิ่วในท่อน้ำดีภายหลังการผ่าตัดของโรงพยาบาลแม่สอด. เชียงรายเวชสาร 2563; 12(2): 117-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022